บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2009

ไทยโชว์ ตอน รวมโชว์ประทับใจ ๒

ไทยโชว์ ตอน รวมโชว์ประทับใจ (2)...3 ม.ค. 53 ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วกับรายการไทยโชว์รวมโชว์ประทับใจ กว่า ๑ ปีที่ผ่านมากับโชว์ดีๆ ที่ยังคงความประทับใจจะกลับมาสร้างความสุขให้คุณผู้ชมอีกครั้ง คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าให้ฟังตามลำดับว่า เปิดโชว์ภาคอีสาน ด้วยสีสันแห่งความสนุกสนาน "แคนลำโขง หนองคาย" ชมรมนาฏศิลป จังหวัดหนองคาย ยังจำได้ไหมครับ ภาพที่น้องๆกำลังฝึกซ้อมชุดตำนานบั้งไฟพญานาค ริมหาดทรายริมลำน้ำโขง ยามพระอาทิตย์อัสดง หนังหญิงอัญมณี หรือหนังตะลุงหญิงอัญมณี จังหวัดสงขลา คงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคที่ขีดกั้นความสามารถ หรือความทัดเทียมระหว่างชายและหญิง แม้ความเข้มข้นเร้าใจในการเชิดการพากย์อาจจะไม่เร้าใจเท่า นายหนัง –ผู้ชาย แต่ก็ถูกทดแทนด้วยความสง่า ประณีต กระชับฉับไว กินใจแบบหญิง ละครชาตรี คือละครไทยที่มีความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาและเป็นพี่น้องกับโนราห์ อย่างแนบแน่น โดยเฉพาะละครชาตรีบ้านเรืองนนท์ ทายาทของครูทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ยืดอายุ ละครชาตรีให้ยืนยาว มีแหล่งพำนักอยู่ที่หลานหลวง หรือสนามควายในอดีต ซึ่งเป็น แ

ไทยโชว์ อาทิตย์ที่ 6 ธันวาคมนี้ เสนอ พิณเปี๊ยะ

รูปภาพ
คมสันต์ไทยโชว์พาไปรู้จักกับ ดนตรีล้านนาสุดโรแมนติก “พิณเปี๊ยะ” อาทิตย์ที่ 6 ธันวาคมนี้ รายการไทยโชว์พาไปรู้จักกับ เครื่องดนตรีล้านนาสุดโรแมนติก “พิณเปี๊ยะ” ซึ่ง ครั้งหนึ่ง เกือบจะสูญหายไปกลับเวลา แต่พลิกฟื้นอีกครั้งด้วยพลังของศิลปินรุ่นใหม่ที่ยอมแพ้กาลเวลา คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการเล่าให้ฟังว่า สำหรับผมได้ยิน คำว่า “พิณเปี๊ยะ” ครั้งแรกตอนเด็กๆ ..คุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินโฟร์คซองคำเมืองชื่อดังเป็นคนหนึ่งที่นำดนตรีโบราณนี้มาฟื้นฟูทั้งในแบบดั่งเดิมจากพ่อครูสามท่าน อุ๊ยแปง โนจา, อุ๊ยวัน ถาเกิด และอุ๊ยบุญมา ไชยมะโน และแบบประยุกต์โดยนำมาเล่นร่วมกับดนตรีโฟร์คซอง จนทำให้ พิณเปี๊ยะ ได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง..ด้วยเสียงดีดเบาๆ แล้วดังวาวๆ ก้องกังวาน ทำให้สะดุดหู แต่ที่เห็นแล้วทำให้หลงรัก พิณเปี๊ยะเลยคือท่าเล่นที่สง่างาม เพราะคนเล่น(ส่วนใหญ่)จะเป็นผู้ชาย ต้องถอดเสื้ออวดหุ่น แล้วจะเอากะโหลกที่ทำด้วยกะลามะพร้าวขัดเงาวับ ของพิณเปี๊ยะครอบไว้ตรงหน้าอกซ้ายตรงหัวใจพอดี ขยับเข้าออกตอนดีด ซึ่งมองแล้วเท่ห์สุดๆ พอได้มีโอกาสค้นคว้าเพิ่มเติมและได้พูดคุยกับศิลปินที่ชำนาญด้าน พิณเปี๊ยะ จึงทำให้ทราบมากขึ้นว่า

ไทยโชว์ 29 พ.ย.นี้ เสนอ ขับซอยี่เป็ง

รูปภาพ
คมสันต์ไทยโชว์เชิญชม-ขับซอยี่เป็ง วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายนนี้ คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ พาไปชมการขับซอที่ไพเราะจับใจ พร้อมเที่ยวบ้านเมือง ยลวัดริมน้ำยม ชมความสวยงาม สงบ เรียบง่ายของเมืองแพร่ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงหรือ ยี่เป็ง ที่ผ่านมา คมสันต์ สุทนต์ เกริ่นนำ “ซอ หมายถึง บทเพลง ขับซอก็คือ ร้องเพลงนั่นเอง การขับซอเป็นการแสดงที่พบเห็นได้ในแถบจังหวัดภาคเหนือไม่ว่าจะเป็น เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน เป็นต้น แต่ในการขับซอครั้งแรกนี้ ไทยโชว์นำเสนอ ขับซอเมืองแพร่ก่อน และจะค่อยๆ นำเสนอให้ครบทุกจังหวัดครับ” “...จังหวัดแพร่ เป็นเมืองบนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยม ถูกขนานนามว่า เมืองพลนคร........ ในด้านวัฒนธรรม จังหวัดแพร่นับว่า เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีตและสืบ ทอดมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการละเล่นเพลง ร้องพื้นบ้านที่เรียกว่า “ซอ” ซึ่งจัดเป็นบทเพลง ชนิดหนึ่ง ใช้ขับซอ โต้ตอบกัน ให้ทั้งความ เพลิดเพลิน สนุกสนาน ความรู้ ความคิด ทั้งใน ด้านปรัชญา และคติสอนใจ การขับซอ การขับ ซอนี้นิยมจัดแสดงในงานฉลองหรืองานปอย ต่างๆ ในการขับซอมีช่างซอ ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน ศิลปินต้องมีปฏิภาณ ร้องโต้ตอบ

ไทยโชว์ อาทิตย์ที่ 15 และ 22 พฤศจิกายนนี้ “เพาะกล้า พันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้าน”

รูปภาพ
คมสันต์ไทยโชว์ดีใจ ได้ 20 เพชรเม็ดงามประดับวงการเพลงพื้นบ้าน สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (ThaiPBS) โดยรายการไทยโชว์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยกองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกันจัดโครงการค่าย “เพาะกล้า พันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้าน” เปิดรับสมัครเยาวชนไทยชาย - หญิง อายุระหว่าง ๑๕ - ๒๕ ปี จำนวน๒๐ คน แบ่งเป็น ชาย ๑๐ คนและหญิง ๑๐ คน ที่มีความสนใจและมีความสามารถทางด้านการแสดงเพลงพื้นบ้าน เข้าค่าย New Gen FS ระหว่างวันที่ ๑ - ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเรียนรู้และฝึกปฏิบัติกับครูศิลปินแห่งชาติ อาทิ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ และครูชินกร ไกรลาศ ตลอดระยะเวลาการเข้าค่ายได้มีการทดสอบการแสดง และประเมินผล เพื่อเก็บคะแนนสะสม และในวันสุดท้ายปิดค่าย น้องๆเยาวชนทุกคนจะได้มีโอกาสแบ่งกลุ่มสร้างสรรค์ออกแบบรูปแบบการแสดงอย่างอิสระ เพื่อนำเสนอในรายการไทยโชว์ ตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนเต็มนะครับ ที่เยาวชน 20 คน ที่ฝ่าด่านแรกจากจำนวนผู้สมัครกว่า 100 คน ได้มีโอกาสเข้าค่าย “เพาะกล้า พันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้าน” ซึ่งเชื่อเหลือเกินครับว่า พวกเขาได้รับความรู้และเก็บเกี่ยวประ

ไทยโชว์ อาทิตย์ที่ 11 ตุลาคมนี้ เสนอ ละครนอก เรื่อง ไกรทอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ไทยโชว์ตามรอยไกรทอง ไปพิจิตร-เมืองชาละวัน “ถ้าพูดถึงตำนานไกรทอง หลายๆคนคงนึกถึงชายหนุ่มร่างกายกำยำ เก่งกล้า สามารถ มีวิชาอาคม สามารถปราบจระเข้ที่ออกอาละวาดที่เมืองพิจิตร แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า ไกรทองแท้จริงแล้วเป็นคนพื้นเพหรือจังหวัดไหน....” วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรรายการไทยโชว์ นำเสนอละครนอกแบบเดิมชายล้วน และจะพาคุณผู้ชมไปตามหาตำนานไกรทอง ถึงเมืองพิจิตร ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองชาละวัน เมื่อทางทีมงานเดินทางเข้าสู่เมืองพิจิตรก็ยิ่งมันใจว่า ที่นี่เป็นเมืองของชาละวันเพราะทุกๆที่ที่เราผ่านจะมีรูปปั้นจระเข้เต็มไปหมด โดยเฉพาะจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณสวนสาธารณะบึงสีไฟ คมสันต์ สุทนต์ เกริ่นนำว่า “รายการไทยโชว์ ได้รับการต้อนรับจากน้องๆ หน้าใสๆจากโรงเรียนพิจิตรพิทยาคมที่อาสาพาไปเที่ยวสถานที่ต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนานชาละวัน ที่สร้างความภูมิใจให้แก่คนเมืองพิจิตร ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำชาละวัน เมืองเก่า วัดมหาธาตุ แม่น้ำน่านสายเก่า และบึงสีไฟ ที่น้องๆและผมจะมานั่งเล่าตำนาน

คมสันต์ไทยโชว์ เชิญชม หนังปราโมทัย-รามเกียรติ์”

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทยโชว์-หนังปราโมทัย อาทิตย์ที่ 4 ตุลาคมนี้ กลับมาอีกครั้ง กับพ่อสังวาลย์ ผ่องแผ้ว หัวหน้าคณะเพชรหนองเรือ แต่ครั้งนี้ไม่ได้มาโชว์หุ่นกระบอกอีสานแต่เป็นการแสดง “ หนังปราโมทัยหรือประโมทัย” การแสดงพื้นบ้านอีกอย่างของภาคอีสาน ที่น่าสนใจ และจะเรียกเสียงหัวเราะของท่านผู้ชมได้อีกครั้งอย่างแน่นอน คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ กล่าวว่า “หลังจากที่รายการไทยโชว์ออกอากาศ ตอน หุ่นกระบอกอีสาน คณะเพชรหนองเรือ ไป ทางรายการก็ได้รับผลตอบรับอย่างดี และมีคุณผู้ชมเรียกร้องให้ นำเสนอ หนังปราโมทัยหรือประโมทัย คณะเพชรหนองเรือ ผมและทีมงานจึงอดใจไม่ได้ต้องเชิญพ่อสังวาล ผ่องแผ้วและคณะเพชรหนองเรือ มาแสดงบนเวทีไทยโชว์อีกครั้ง เพื่อเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับท่านผู้ชม” หนังปราโมทัยหรือหนังตะลุงอีสาน คำว่า “ปราโมทัย” สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปราโมทย์ ที่หมายถึง ความบันเทิงใจ แล้วก็เรียกเพี้ยนกันมาเป็นปราโมทัย การแสดงปราโมทัยนั้นจะเริ่มจากการไหว้ครู การโหมโรง การประกาศชื่อเรื่อง การออกรูปฤาษี การเชิด และดำเนินตามเนื้อเรื่อง จนถึงฉากจบ ซึ่งทำนองการพากย์หนังปราโมทัยจะประกอบด้วย ทำน

คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์เชิญชม ฟ้อนสาวไหมต้นฉบับ-แม่ครูบัวเรียว

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทยโชว์ตอน ฟ้อนสาวไหม อาทิตย์ 27 กันยายนนี้ คมสันต์และรายการไทยโชว์อาทิตย์ที่ 27 กันยายนนี้ จะพาคุณผู้ชมเดินทางไปดูศิลปะการแสดงจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย นั่นก็คือ จังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทางทีมงานจะตามน้องๆนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังจะออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยไปเรียน ศิลปะการแสดงฟ้อนสาวไหมที่บ้านแม่ครูบัวเรียว “แม่ครูบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์ รัตนมณีภรณ์) เล่าให้ฟังว่ามักเข้าใจผิดว่า ฟ้อนสาวไหม ดัดแปลงมาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอเป็นผ้าไหม แต่ความจริงแล้วคำว่า “ไหม” ในภาษาล้านนา หมายถึงเส้นด้าย และหากดูจากสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ ของชาวล้านนา ก็จะเห็นว่านิยมปลูกต้นฝ้าย เพื่อใช้ทอเป็นผืนผ้า ดังนั้นฟ้อนสาวไหม จึงหมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายนั่นเอง” ตามนักศึกษามาถึงบ้านแม่ครูบัวเรียว ได้เห็นแม่ครูฟ้อนสาวไหมครั้งแรกทีมงานรายการไทยโชว์ถึงกับตะลึงถึงความอ้อนช้อยสวยงาม และละเมียดละไม จนสามารถจินตนาการเห็นเครื่องปั่นฝ้ายและการดึงฝ้ายแต่ละเส้นๆ เห็นเป็นขั้นตอนตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย จนกระทั่งการทักทอฝ้ายเป็นผืนได้เลยทีเดียว โดย

ไทยโชว์ อาทิตย์ที่ 20 กันยายนนี้ ชม หุ่นกระบอก พระสุธน-มโนห์รา

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ไทยโชว์เสนอหุ่นกระบอกพระสุธน มโนราห์ ทางทีมงานของรายการไทยโชว์ได้มีโอกาสไปชมการแสดงหุ่นกระบอกไทย เรื่อง พระสุธน มโนห์รา เพื่อเชิดชูเกียรติ 10 ปี ครูชื้น สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติปี 2529 สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นกระบอก) ของคนรุ่นใหม่ในนาม บ้านตุ๊กกะตุ่น แล้วเกิดความประทับใจจึงติดต่อให้มาแสดงในรายการไทยโชว์ เพื่อถ่ายทอดให้คุณผู้ชมได้เห็นถึงความงดงามของหุ่นกระบอกไทย รายการไทยโชว์อาทิตย์นี้ จะพาคุณผู้ชมไปที่บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย สัมผัสทุกกระบวนการขั้นตอนก่อนที่จะมาเป็นตัวหุ่นแต่ละตัว พร้อมชื่นชมกับความงามของหุ่นกระบอกไทย ซึ่งผู้ก่อตั้งบ้านตุ๊กกะตุ่นนี้คือ คุณหนึ่ง (นิเวศ แววสมณะ) คนรุ่นใหม่ที่มีอาชีพหลักอยู่ในแวดวงโฆษณา แต่มีใจรักในความเป็นไทย และมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และสืบสานงานช่างหุ่นกระบอก คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการ ได้เล่าให้ฟังหลังจากได้คุยกับเจ้าของบ้านตุ๊กกะตุ่นว่า “หุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่นนี้ นอกจากจะสวยงาม อ่อนช้อยแล้วยังมีจุดเด่นตรงที่สามารถขยับนิ้วจับจีบได้ และความสวยงาม ความประณีตในการเดินดิ้นปักเลื่อมบนเครื่องแต่งกายก็โดดเด่นไม่แพ้ใครเลยทีเดี

คมสันต์ไทยโชว์ประกบสองสาวล้านนา ช่างฟ้อนเชียงใหม่

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ไทยโชว์ประกบสองสาวล้านนา ช่างฟ้อนเชียงใหม่ รายการไทยโชว์ ตอน ช่างฟ้อนวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ รายการไทยโชว์ วัน อาทิตย์ ที่ 13 กันยายน 2552 จะพาคุณผู้ชมไปรู้จักกับการฟ้อนแบบต่างๆของชาวล้านนา โดยพิธีกรคมสันต์ สุทนต์ จะพาไปยังวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ซึ่งพิธีกรในรายการครั้งนี้จะไม่ได้มีแค่คมสันต์คนเดียว แต่จะมีน้องๆนักศึกษาสาววิทยาลัยนาฏศิลป เชียงใหม่ 2 คน คือ น้องโบว์ (จริยา ถานะวร) กับ น้องจ๋า (เขมิกา ศรีแก้ว) ประกบคู่พิธีกร ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ พารายการไทยโชว์ไปรู้จักกับการแสดงฟ้อนของชาวล้านนา โดยเริ่มจากฟ้อนที เป็นการแสดงฟ้อนที่ใช้ร่มเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง และที่เรียกว่าฟ้อนที เพราะคำว่า ที เป็นภาษา “ไต” ที่มีความหมายว่า ร่ม นั่นเอง พอรู้จักกับฟ้อนทีกันแล้วน้องโบว์กับน้องจ๋าก็พาเราเดินลัดเลาะอาคารไปรู้จัก ฟ้อนกมผัด เป็นการแสดงฟ้อนโคมหมุน นับเป็นการแสดงออกทั้งทางสติปัญญาและความศรัทธาอันแก่กล้าต่อพระพุทธศาสนาของชาวล้านนา โคมผัดจะตกแต่งด้วยกระดาษตัดเป็นรูปต่างๆ เช่น ลายพระธาตุปีเกิด 12 นักษัตร และ วิถีชีวิตชาวล้านนา ที่น่าทึ่ง คือ การหมุนของโคมโดยใช้แรงความ

คมสันต์ สุทนต์พารายการไทยโชว์เดินทางสู่ดินแดนล้านนา

คมสันต์ สุทนต์พารายการไทยโชว์เดินทางสู่ดินแดนล้านนา เพื่อค้นหาศิลปะการแสดงของล้านนา และการค้นหาครั้งนี้ทำให้รายการไทยโชว์ได้พบกับทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า ดูภายนอกก็เป็นเหมือนคุณตาใจดีธรรมดาคนหนึ่ง แต่เมื่อได้สัมผัส พูดคุยย้อนประสบการณ์ชีวิตอันเชี่ยวกรากและมองลึกเข้าไปจะเห็นหัวใจที่เป็นเลือดศิลปินผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ผู้ถ่ายทอดศิลปะการแสดงชั้นยอด นั่นคือ พ่อครูพันหรือมานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) พ.ศ.2548 พ่อครูพันเป็นผู้มีความรู้เรื่องกลองล้านนา ไม่ว่าจะเป็นกลองชัยมงคล กลองสะบัดชัย กลองบูชา กลองมองเซิง กลองปู่เจ ซึ่งพ่อครูพันได้เล่าตำนานของกลองชัยมงคลให้ฟังว่า “ครั้งหนึ่งขณะที่บ้านเมืองสงบสุข วันหนึ่งมียักษ์ตาทิพย์ลงมากินคน 1 คนในวันถือศีล มนุษย์จึงตีกลองร้องทุกข์กับพระอินทร์ พระอินทร์จึงแปลงกายลงมาเป็นคนธรรมดา ตอนนั้นยักษ์ได้กินคนไปแล้วหนึ่งคน แล้วจะกินผู้หญิงอีกนางหนึ่งพระอินทร์จึงท้าพนันกับยักษ์ว่า ถ้าศีลหน้า(วันพระหน้า)ยักษ์ไม่เจอนางคนนี้ให้เลิกกินคนตลอดไป ยักษ์ก็ตกลงรับคำท้าเพราะเชื่อว่าตนต้องหาเจอ เพราะว่าตนเป็นยัก

คมสันต์ ไทยโชว์เชิญชม ดิเกร์ฮูลู เฉลิมพระเกียรติ

รูปภาพ
รายการไทยโชว์ 23 สิงหาคม-เสนอ ดิเกร์ฮูลู เฉลิมพระเกียรติ ไทยโชว์ เชิญชมดิเกร์ฮูลูเยาวชนตัวน้อยๆ คณะศรีราชวังจะบังติกอ ที่เพิ่งชนะเลิศในโครงการ “ดิเกร์ฮูลู เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา “เป็นครั้งที่สองแล้วครับ ที่รายการไทยโชว์ ได้มีโอกาสเปิดเวทีต้อนรับการแสดงดิเกร์ฮูลู ครั้งนี้จะต่างจากครั้งแรก ตรงที่น้องๆเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มาในครั้งนี้อยู่ในระดับประถมศึกษา เรื่องความสามารถอาจไม่เข้มข้นเท่ารุ่นผู้ใหญ่ แต่ถ้าพูดถึงความสดใสสนุกสนานแล้วต้องถูกใจคุณผู้ชมแน่นอน ซึ่งทีมงานได้ติดตามถ่ายทำกิจกรรมการแสดงของน้องๆที่มาโชว์ที่กรุงเทพฯ ตลอดสัปดาห์ แบบครบรส ไม่ว่าจะไปโชว์ที่สวนสัตว์ดุสิต หรือแม้กระทั่งคืนที่ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ศิลปะกับคณะหุ่นละครเล็ก ฯ เหมือนกับเราได้เดินทางไปพร้อมๆกับน้องๆเลยครับ” คมสันต์ สุทนต์ กล่าวถึงการแสดงโชว์ในครั้งนี้ “ดิเกร์ฮูลู เป็นศิลปะการร้องประกอบดนตรีพื้นบ้านของพี่น้องชาวไทยมุสลิมภาคใต้ ที่มีการสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อค้าเปอร์เซียที่นับ ซึ่งเดินเรือมาค้าขายในแถบแหลมมลายู พร้อมกับเผยแพร่ศานาอิสลาม

คมสันต์ สุทนต์ เชิญหุ่นกระบอกเพชรหนองเรือ มารายการไทยโชว์

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ สุทนต์ เชิญหุ่นกระบอกเพชรหนองเรือ มารายการไทยโชว์ ตามคำเรียกร้องของผู้ชมรายการไทยโชว์อีกแล้ว ที่อยากจะเห็นการแสดงหุ่นกระบอกอีสาน ที่กล่าวขานกันทั่วอีสานว่า ชาวบ้านชาวช่อง เยาวชนคนรุ่นใหม่ ฮาขำจนกลิ้งตกเก้าอี้ คมสันต์ สุทนต์พิธีกรหนุ่มไม่รอรี รีบ เดินทางไปอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เชิญหุ่นกระบอกอีสาน คณะเพชรหนองเรือ มาโชว์ประเดิมวันเวลาใหม่ หกโมงเย็น วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคมนี้ “พ่อสังวาลย์ ผ่องแผ้ว หัวหน้าคณะหุ่นกระบอกเพชรหนองเรือ เล่าให้ผมฟังว่า.. เริ่มเล่นแสดงจริงจังก็ซัก 20 ปีที่ผ่านมานี้เอง ก่อนหน้านั้นคณะเพชรหนองเรือเล่นหนังประโมทัย หรือตะลุงอีสานแล้วมีโอกาสมาแสดงงานที่สวนอัมพร กรุงเทพฯ เห็นการแสดงหุ่นกระบอกของภาคกลางแล้วเกิดแรงบันดาลใจ เลยเก็บไปคิดค้นประดิษฐ์ตัวหุ่น และรูปแบบการแสดงในสไตล์ของตัวเองขึ้นมาบ้าง” คมสันต์ สุทนต์ เล่าที่มาของหุ่นกระบอกอีสาน พร้อมเสริมจุดน่าสนใจว่า “จุดเด่นของหุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ตัวหุ่นกระบอกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเรียบง่ายใช้วัสดุไม้ผ้าแบบพื้นบ้าน แต่เครื่องแต่งกายเน้นสีสันฉูดฉาด แต่งองค์ทรงเครื่องแพร

คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ สุดปลื้มศิลปินดาราดัง อี๊ด-สุประวัติ, โย-ญาณี, เหมี่ยว-ปวันรัตน์ฯ ยกทีมมาแสดงละครร้อง “ตุ๊กกะตายอดรัก”

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ สุดปลื้มศิลปินดาราดัง อี๊ด-สุประวัติ, โย-ญาณี, เหมี่ยว-ปวันรัตน์ฯ ยกทีมมาแสดงละครร้อง “ตุ๊กกะตายอดรัก” นับวันยิ่งไม่ธรรมดา สำหรับรายการน้ำดี ของทีวีไทย อย่าง “ไทยโชว์” ที่นำเสนอศิลปะการแสดงของไทยแบบดั้งเดิมและหลากรส ล่าสุดวันศุกร์ 17และ24 กรกฎาคม 2552 นี้ นำเสนอ ละครร้อง “ตุ๊กกะตายอดรัก” บทพระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระบิดาแห่งการละครร้อง เรียบเรียงบทใหม่/กำกับการแสดงโดย หม่อมหลวงจุลลา งอนรถ ควบคุมดนตรี/ขับร้องโดยครูสุดจิตต์ ดุริยะประณีต ศิลปินแห่งชาติ และขับร้องลูกคู่โดยครูสุรางค์ ดุริยพันธ์ พร้อมทีมศิลปินดาราชั้นครู,มืออาชีพและกิตติมศักดิ์นำโดย สุประวัติ ปัทมสูต, ญาณี ตราโมท, ปวันรัตน์ นาคสุริยะ, นฤพนธ์ ดุริยพันธ์, พลตรีหญิง สาวิกา ชื่นคงชู, ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์, ปานเกศ ศาตะมาน, สุดารัตน์ ไววิลา, ภูมินทร์ ธนเกษพิศาล “ต้องบอกว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ชมและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะได้เห็นการแสดงละครเวทีในรูปแบบละครร้องยุคแรกๆของเมืองไทย และได้สัมผัสชั้นเชิงของดาราศิลปินชั้นครูที่มาแสดงไว้อย่างสุดฝีมือ เพื่อให้คนรุ่นใหม่อย่างเราได้เห็

คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ เชิญชมโชว์อีสานใต้ “ดงมันรักกันตรึม”

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ เชิญชมโชว์อีสานใต้ “ดงมันรักกันตรึม” ตามคำเรียกร้องของพี่น้องชาวอีสานใต้ และแฟนรายการไทยโชว์ที่อยากชมศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “กันตรึม” คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรหนุ่มอารมณ์ดี เลยเชื้อเชิญวงกันตรึมเยาวชนที่ชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ปี2552 คณะ“ดงมันรักกันตรึม” มาวาดลวดลายความมัน บนเวทีไทยโชว์ วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคมนี้ “ดงมันรักกันตรึม” เป็นวงกันตรึม(ดั้งเดิม)ที่มีชื่อเสียงมากในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ (สามจังหวัดในแดนอีสานใต้) มีอาจารย์โฆษิส ดีสม และคุณน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการควบคุมดูแลและถ่ายทอดวิชา ล่าสุดก็พาลูกหลานเยาวชนเข้าประกวดแล้วได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ปี 2552 ทั้งนี้ด้วยความมาแรงของ “ดงมันรักกันตรึม” และกระแสเรียกร้องของแฟนรายการฯ เราเลยเชิญมารายการไทยโชว์ ครับ คมสันต์ สุทนต์ เกริ่นนำพอสังเขป แล้วพูดเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติจาก คุณยิ่งยง ยอดบัวงาม ศิลปินนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง มาเล่าประวัติความเป็นมา ความภาคภูมิใจเกี่ยวกับศิลปะการแ
คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไปฟังเพลงโปรดของย่าโม “เพลงโคราช” คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไปฟังเพลงโปรดของย่าโม “เพลงโคราช” แบบดั้งเดิมไทยโชว์สัปดาห์แรกเดือนกรกฎาคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไปฟังเพลงโปรดของท้าวสุรนารี - ย่าโม “เพลงโคราช” แบบดั้งเดิมโดย ครูเพลงและหมอเพลงจากสมาคมเพลงโคราช “เขาบอกว่าถ้าไปโคราชหรือจังหวัดนครราชสีมา แล้วไม่ได้มากราบไหว้อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หรือย่าโม (พ.ศ. 2313 - 2395) ก็ถือว่ายังไม่ถึงเมืองโคราชใช่ไหมครับ แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ที่นี่จะมีคนมาแก้บนด้วยเพลง“เพลงโคราช” บทเพลงพื้นบ้านที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ลึก และความไพเราะซึ้ง ในสุ่มเสียงแบบคนโคราช ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นเพลงโปรดของย่าโม” คมสันต์ สุทนต์ เกริ่นนำอย่างถึงอารมณ์ ก่อนให้ข้อมูลเบื้องต้นเพิ่มว่า “เพลงโคราชระยะแรกๆ น่าจะเล่นแบบเพลงก้อม (แปลว่า สั้น) เพลงก้อมจึงหมายถึง เพลงสั้นๆ ที่ร้องโต้ตอบกันไปมา แล้วก็พัฒนาเนื้อร้องให้ยาวขึ้นกลายเป็นเพลงโคราช ซึ่งมีขั้นตอนการแสดงเริ่มจาก เพลงเกริ่น(บอกเล่า แนะนำตัว), เพลงเชิญ(หมอลำชาย จะร้องเชิญหมอลำหญิงขึ้นมาบนเวที), เพลงถามข่าว

คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไป “สนามควาย” ชม “ละครชาตรี บ้านเรืองนนท์”

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไป “สนามควาย” ชม “ละครชาตรี บ้านเรืองนนท์” สนามควายก็คือ ย่านหลานหลวงในปัจจุบันนี่แหละครับ หลานหลวงถือเป็นแหล่งรวมของบรรดาศิลปินที่มีชื่อเสียงและศาสตร์ศิลปะการแสดงหลากหลายแขนง ที่โดดเด่นและมีความเป็นมายาวนานก็คือ ละครชาตรี ครับ ซึ่งเป็นการแสดงที่พัฒนามาจาก โนรา(ชาตรี) ของภาคใต้ แต่มีการเพิ่มเนื้อเล่นเป็นเรื่องเป็นราว โดยครูพูน เรืองนนท์ (บิดาของครูทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ตั้งชื่อรูปแบบการแสดงแบบนี้ว่า ละครชาตรี เล่นสืบทอดกันมาในตระกูล “เรืองนนท์”เป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวบ้านร้านถิ่น เพราะใช้ภาษาพื้นบ้าน สนุกสนานเข้าใจง่าย จนบางที่ก็จ้างไปเล่นแก้บน จนบางทีเรียกกันว่า “ละครแก้บน” ก็มี แต่แก่นของละครชาตรีหรือลักษณะเฉพาะตัวของ ละครชาตรี จะต้องมี โหมโรงชาตรี,ประกาศหน้าบท และซัดชาตรี(ซัดหน้าเตียง) 3 อย่างนี้ขาดไม่ได้ครับ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ เล่าความเป็นมาของ ละครชาตรี อย่างสนุกสนานเป็นฉากๆ ละครชาตรี บ้านเรืองนนท์ ที่รายการไทยโชว์นำเสนอ จะเป็นเรื่อง แก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก ซึ่งเป็นตอนที่สนุกสนาน ด้วยลีลาแก่นแก้วเฟี้ยวฮาของนางเอกฟันจอบ นางแก้

รายการไทยโชว์ ตอนขยับกรับ ลับโลกา

รูปภาพ
รายการไทยโชว์ ตอน “ขยับกรับ ลับโลกา” บทโทรทัศน์และบันทึกถอดความโดย คมสันต์(วรรณวัฒน์) สุทนต์ http://www.khomsun.com/ วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2552 ดนตรีประจำรายการไทยโชว์ โลกจะสดับ เมื่อเราขยับ โลกจะสดับ เมื่อเราบรรเลง เรามีดีที่อยากให้เห็น เราแสดงทุกอย่างให้ชมจะบรรเลงให้ก้องไปไกล จะโชว์เพลงไทยให้เขานิยม นี่คือตัวเรา นี่คือชีวิต นี่คือภาษา นี่คือสมบัติ ที่ทรงคุณค่า ไม่เคยหยุดยั้ง ไม่เคยยอมแพ้ กับกาลเวลา เพื่อยังคงอยู่ ในวันข้างหน้า “เพราะเราไม่อยากให้หายไป” ThaiShow Break 1 Super ขึ้นเต็มจอ ไทยโชว์ตอน “ขยับกรับ ลับโลกา” ร่วมไว้อาลัยครู แจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2538 ครูแจ้งขับเสภา เปิดรายการไทยโชว์ ตอนแรก “ขยับกรับขับเสภา” อะหังวันทา สามิภักดิ์ ด้วยรักกาพย์กลอน อักษรสยาม..... ผู้ดำเนินรายการ คมสันต์ : (ด้นสด) ในเช้าวันที่ 16 มิถุนายน ปีพุทธศักราช 2552 ชาวไทย หรือคนไทยทั้งประเทศได้สูญเสีย บรมครู ครูขับเสภาคนสำคัญครับ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ และวันนี้ครับ(วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2552) รายการไทยโชว์ได้เดินทางมาที่ วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อมาร่วมไว้อาลัยให้แ