บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2009

“คมสันต์” พิธีกรรายการไทยโชว์ เชิญชม “รำโทน รำวง สงคราม ความรัก”

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรหนุ่มอารมณ์ดี รายการไทยโชว์ เชิญคนไทยทั้งประเทศ สนุกสนานกับโชว์ศิลปะการแสดงไทย “รำโทน รำวง สงคราม ความรัก” “รำโทน รำวง สงคราม ความรัก” เป็นชื่อตอนล่าสุดของรายการไทยโชว์ ที่ไม่ได้แค่ผูกคำให้สวยฉงนอย่างเดียว แต่เป็นตอนที่ทีมงานไทยโชว์ได้บรรจงเรียงร้อยสาระและความบันเทิงไว้อย่างครบเครื่อง” คมสันต์ เกริ่นนำ ก่อนเล่าข้อมูลเพิ่มเติมรายการไทยโชว์ตอนสำคัญนี้ “รำโทนก็คือการละเล่นของคนไทยที่นิยมเล่นกันมากในแถบภาคกลาง ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีกลองโทน ที่ตีดัง ป๊ะๆ โทนๆ เล่นประกอบการร้องรำ เสียงกลองและชื่อกลองนี่แหละเป็นที่มาของชื่อรำโทน ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านให้กรมโฆษณาการหรือกรมประชาสัมพันธ์และกรมศิลปากรร่วมกันพัฒนารำโทนของชาวบ้านให้มีรูปแบบดนตรีและนาฏศิลป์เป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิด รำวงมาตรฐาน จำนวน 10 เพลง เริ่มจากเพลงงามแสงเดือน(งามแสงเดือน มาเยือนส่องหน้า) ไปจบเพลงสุดท้ายที่เพลงบูชานักรบ “รำโทนไม่ได้แตกหน่อไปแค่รำวงมาตรฐานเท่านั้น แต่ต่อยอดไปเป็นเชียร์รำวง, เพลงลูกทุ่ง, เพลงลูกกรุงและเพลงสุนทราภรณ์ด้วยครับ..คณะรำวงที่เป็นตำนานก็คือ รำวงคณะสามย

ไทยโชว์ ตามหาซอสายฟ้าฟาด ซอสามสายรัชกาลที่ 2

ไทยโชว์ ตามหาซอสายฟ้าฟาด ซอสามสายรัชกาลที่ 2 รายการไทยโชว์ วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 20.20 ทาง คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ ขันอาสาลุยภาคสนามตามหาซอสายฟ้าฟาด ซึ่งเป็นซอสามสายคู่พระทัยของรัชกาลที่ 2 ที่เป็นต้นกำเนิดเพลงบุหลันลอยเลื่อน เพลงนี้มีต้นกำเนิดจากพระสุบินของพระองค์เอง (โดยเล่ากันว่า หลังจากพระองค์ได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวงสวรรค์ ณ ที่นั้น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นจากบรรทมก็ยังทรงจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงาน ดนตรี มาแต่งเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแผ่ ซึ่งเคย ใช้ เพลงทรงพระสุบินนี้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกด้วย) และตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นซอที่มีความสวยงามและมีเสียงไพเราะ ถึงกับเป็นต้นแบบซอสามสายในปัจจุบัน “มีคำบอกเล่าหลายตำนานครับ บ้างก็บอกว่าตอนนี้ซอสายฟ้าฟาดอยู่ในวังของเจ้านาย บ้างก็บอกว่า อยู่กับครูดนตรีท่านโน้นท่านนี้ มีแต่เรื่องเล่ากันต่อๆมา แต่ยังไม่มีใครที่บอกว่าเห็นกับตาตนเองว่ามีอยู่จริง เลยเป็นแรงผ

รายการไทยโชว์ เสนอ “ต้นฉบับเพลงอีแซว แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์”

รายการไทยโชว์ เสนอ “ต้นฉบับเพลงอีแซว แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์” รายการไทยโชว์สัปดาห์นี้ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรพาไปถึงบ้านแม่เพลงอีแซว เมืองสุพรรณฯ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว)ปี พ.ศ. 2539 “ถ้าพูดถึงเพลงอีแซวแล้ว ต้องนึกถึงเพลงอีแซวคณะแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เพราะ ความสนุกสนาน ร่วมยุค ร่วมสมัยตลอดเวลา ถ้าได้ดู ได้ฟังซักครั้ง รับรองว่าจะติดใจแน่นอนครับ” คมสันต์เกริ่นนำก่อนพูดถึงข้อมูลเพิ่มเติม “แม่ขวัญจิตเล่าให้ฟังว่า เพลงอีแซว เป็นเพลงพื้นบ้านที่เกิดในถิ่นสุพรรณบุรีและอ่างทอง แต่ก่อนบางแห่งเรียกเพลงยั่วเพราะร้องยั่วกัน คล้ายเพลงกลองยาว บ้างก็ว่ามาจาก เพลงแคน จากนั้น ทำนองและเนื้อร้องก็ค่อย ๆ มีลักษณะเป็นของตัวเอง ต่อมามีการยืมเนื้อจากเพลงฉ่อยมาร้องเป็นเรื่องยาวขึ้น เหตุที่เรียกเพลงอีแซวนั้น พ่อบัวเผื่อน(พ่อเพลงพื้นบ้านชื่อดังในอดีต) สันนิษฐานว่า เพราะยืนร้องแซวกันทั้งคืน เลยเรียกว่า เพลงอีแซว" “เท่าที่ผมเคยได้ยินพ่อเพลงแม่เพลงเพลงพื้นบ้านร้องมาสมัยเด็กๆ แถวบ้านอ่างทองและทางสุพรรณฯมีมากกว่า 50 รูปแบบไม่ว่าจะหน้าสงกรานต์ หน้าน้ำหลาก

ไทยโชว์ นำเสนอ “แตรวงชาวบ้าน ขวัญใจนางรำอัมพวา”

รูปภาพ
ไทยโชว์ นำเสนอ “แตรวงชาวบ้าน ขวัญใจนางรำอัมพวา” ไทยโชว์ วันศุกร์ที่ 27 มีนาคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรหนุ่มอารมณ์ดี พาคุณผู้ชมไปสัมผัสภาพสวยสองฝั่งคลอง และวิถีชีวิตที่สนุกสนานครื้นเครงของชาวอัมพวา สมุทรสงคราม กับแตรวงชาวบ้าน ขวัญใจนางรำ “ส. จุฬาลักษณ์” “เราเริ่มต้นถ่ายทำแตรวง ภาคสนามที่ตลาดน้ำอัมพวาก่อนครับ แล้วจากนั้นก็ลงเรือหางยาว บรรดานัก ดนตรีเป่าแตรกันไป เสียงนี่ดังสะท้านสองฟากคลอง ชาวบ้านชาวช่องออกมาดูโบกไม้โบกมือ เต้นขยับตามกันอย่างสนุกสนาน.. พอล่องเรือไปถึงวัดจุฬามณี แตรวงก็ไปแห่นาครอบโบสถ์ ..เป็นการสาธิตแต่ทำเหมือนจริงมากๆ จนคนแถวนั้นมาดูกันเป็นร้อย ที่สำคัญมีคุณป้า ยื่นซองให้นึกว่าบวชพระกันจริงๆ แต่ที่พิเศษสุดกว่านั้นก็ตรงที่ทั้งแตรวงและก็นางรำ จะแห่พ่อนาคมาถึง สตูดิโอรายการไทยโชว์ ที่กรุงเทพฯ เลยล่ะครับ” คมสันต์ เล่าให้ฟังอย่างสนุกสนาน ติดตามชมรายการ “ไทยโชว์” ตอน “แตรวงชาวบ้านอัมพวา” พร้อมชมแตรวงชาวบ้านประสานเสียงบรรเลงเพลงไทยแขกขาว เถา ทางของครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ใน วันศุกร์ที่ 27 มีนาคมนี้ เวลา 20.20 น. ทาง ทีวีไทย (ไทยพีบีเอส)