บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2009

คมสันต์ไทยโชว์ เชิญชม หนังปราโมทัย-รามเกียรติ์”

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทยโชว์-หนังปราโมทัย อาทิตย์ที่ 4 ตุลาคมนี้ กลับมาอีกครั้ง กับพ่อสังวาลย์ ผ่องแผ้ว หัวหน้าคณะเพชรหนองเรือ แต่ครั้งนี้ไม่ได้มาโชว์หุ่นกระบอกอีสานแต่เป็นการแสดง “ หนังปราโมทัยหรือประโมทัย” การแสดงพื้นบ้านอีกอย่างของภาคอีสาน ที่น่าสนใจ และจะเรียกเสียงหัวเราะของท่านผู้ชมได้อีกครั้งอย่างแน่นอน คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ กล่าวว่า “หลังจากที่รายการไทยโชว์ออกอากาศ ตอน หุ่นกระบอกอีสาน คณะเพชรหนองเรือ ไป ทางรายการก็ได้รับผลตอบรับอย่างดี และมีคุณผู้ชมเรียกร้องให้ นำเสนอ หนังปราโมทัยหรือประโมทัย คณะเพชรหนองเรือ ผมและทีมงานจึงอดใจไม่ได้ต้องเชิญพ่อสังวาล ผ่องแผ้วและคณะเพชรหนองเรือ มาแสดงบนเวทีไทยโชว์อีกครั้ง เพื่อเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับท่านผู้ชม” หนังปราโมทัยหรือหนังตะลุงอีสาน คำว่า “ปราโมทัย” สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปราโมทย์ ที่หมายถึง ความบันเทิงใจ แล้วก็เรียกเพี้ยนกันมาเป็นปราโมทัย การแสดงปราโมทัยนั้นจะเริ่มจากการไหว้ครู การโหมโรง การประกาศชื่อเรื่อง การออกรูปฤาษี การเชิด และดำเนินตามเนื้อเรื่อง จนถึงฉากจบ ซึ่งทำนองการพากย์หนังปราโมทัยจะประกอบด้วย ทำน

คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์เชิญชม ฟ้อนสาวไหมต้นฉบับ-แม่ครูบัวเรียว

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทยโชว์ตอน ฟ้อนสาวไหม อาทิตย์ 27 กันยายนนี้ คมสันต์และรายการไทยโชว์อาทิตย์ที่ 27 กันยายนนี้ จะพาคุณผู้ชมเดินทางไปดูศิลปะการแสดงจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย นั่นก็คือ จังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทางทีมงานจะตามน้องๆนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังจะออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยไปเรียน ศิลปะการแสดงฟ้อนสาวไหมที่บ้านแม่ครูบัวเรียว “แม่ครูบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์ รัตนมณีภรณ์) เล่าให้ฟังว่ามักเข้าใจผิดว่า ฟ้อนสาวไหม ดัดแปลงมาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอเป็นผ้าไหม แต่ความจริงแล้วคำว่า “ไหม” ในภาษาล้านนา หมายถึงเส้นด้าย และหากดูจากสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ ของชาวล้านนา ก็จะเห็นว่านิยมปลูกต้นฝ้าย เพื่อใช้ทอเป็นผืนผ้า ดังนั้นฟ้อนสาวไหม จึงหมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายนั่นเอง” ตามนักศึกษามาถึงบ้านแม่ครูบัวเรียว ได้เห็นแม่ครูฟ้อนสาวไหมครั้งแรกทีมงานรายการไทยโชว์ถึงกับตะลึงถึงความอ้อนช้อยสวยงาม และละเมียดละไม จนสามารถจินตนาการเห็นเครื่องปั่นฝ้ายและการดึงฝ้ายแต่ละเส้นๆ เห็นเป็นขั้นตอนตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย จนกระทั่งการทักทอฝ้ายเป็นผืนได้เลยทีเดียว โดย

ไทยโชว์ อาทิตย์ที่ 20 กันยายนนี้ ชม หุ่นกระบอก พระสุธน-มโนห์รา

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ไทยโชว์เสนอหุ่นกระบอกพระสุธน มโนราห์ ทางทีมงานของรายการไทยโชว์ได้มีโอกาสไปชมการแสดงหุ่นกระบอกไทย เรื่อง พระสุธน มโนห์รา เพื่อเชิดชูเกียรติ 10 ปี ครูชื้น สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติปี 2529 สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นกระบอก) ของคนรุ่นใหม่ในนาม บ้านตุ๊กกะตุ่น แล้วเกิดความประทับใจจึงติดต่อให้มาแสดงในรายการไทยโชว์ เพื่อถ่ายทอดให้คุณผู้ชมได้เห็นถึงความงดงามของหุ่นกระบอกไทย รายการไทยโชว์อาทิตย์นี้ จะพาคุณผู้ชมไปที่บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย สัมผัสทุกกระบวนการขั้นตอนก่อนที่จะมาเป็นตัวหุ่นแต่ละตัว พร้อมชื่นชมกับความงามของหุ่นกระบอกไทย ซึ่งผู้ก่อตั้งบ้านตุ๊กกะตุ่นนี้คือ คุณหนึ่ง (นิเวศ แววสมณะ) คนรุ่นใหม่ที่มีอาชีพหลักอยู่ในแวดวงโฆษณา แต่มีใจรักในความเป็นไทย และมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และสืบสานงานช่างหุ่นกระบอก คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการ ได้เล่าให้ฟังหลังจากได้คุยกับเจ้าของบ้านตุ๊กกะตุ่นว่า “หุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่นนี้ นอกจากจะสวยงาม อ่อนช้อยแล้วยังมีจุดเด่นตรงที่สามารถขยับนิ้วจับจีบได้ และความสวยงาม ความประณีตในการเดินดิ้นปักเลื่อมบนเครื่องแต่งกายก็โดดเด่นไม่แพ้ใครเลยทีเดี

คมสันต์ไทยโชว์ประกบสองสาวล้านนา ช่างฟ้อนเชียงใหม่

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ คมสันต์ไทยโชว์ประกบสองสาวล้านนา ช่างฟ้อนเชียงใหม่ รายการไทยโชว์ ตอน ช่างฟ้อนวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ รายการไทยโชว์ วัน อาทิตย์ ที่ 13 กันยายน 2552 จะพาคุณผู้ชมไปรู้จักกับการฟ้อนแบบต่างๆของชาวล้านนา โดยพิธีกรคมสันต์ สุทนต์ จะพาไปยังวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ซึ่งพิธีกรในรายการครั้งนี้จะไม่ได้มีแค่คมสันต์คนเดียว แต่จะมีน้องๆนักศึกษาสาววิทยาลัยนาฏศิลป เชียงใหม่ 2 คน คือ น้องโบว์ (จริยา ถานะวร) กับ น้องจ๋า (เขมิกา ศรีแก้ว) ประกบคู่พิธีกร ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ พารายการไทยโชว์ไปรู้จักกับการแสดงฟ้อนของชาวล้านนา โดยเริ่มจากฟ้อนที เป็นการแสดงฟ้อนที่ใช้ร่มเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง และที่เรียกว่าฟ้อนที เพราะคำว่า ที เป็นภาษา “ไต” ที่มีความหมายว่า ร่ม นั่นเอง พอรู้จักกับฟ้อนทีกันแล้วน้องโบว์กับน้องจ๋าก็พาเราเดินลัดเลาะอาคารไปรู้จัก ฟ้อนกมผัด เป็นการแสดงฟ้อนโคมหมุน นับเป็นการแสดงออกทั้งทางสติปัญญาและความศรัทธาอันแก่กล้าต่อพระพุทธศาสนาของชาวล้านนา โคมผัดจะตกแต่งด้วยกระดาษตัดเป็นรูปต่างๆ เช่น ลายพระธาตุปีเกิด 12 นักษัตร และ วิถีชีวิตชาวล้านนา ที่น่าทึ่ง คือ การหมุนของโคมโดยใช้แรงความ