บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2009

ไทยโชว์ 29 พ.ย.นี้ เสนอ ขับซอยี่เป็ง

รูปภาพ
คมสันต์ไทยโชว์เชิญชม-ขับซอยี่เป็ง วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายนนี้ คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ พาไปชมการขับซอที่ไพเราะจับใจ พร้อมเที่ยวบ้านเมือง ยลวัดริมน้ำยม ชมความสวยงาม สงบ เรียบง่ายของเมืองแพร่ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงหรือ ยี่เป็ง ที่ผ่านมา คมสันต์ สุทนต์ เกริ่นนำ “ซอ หมายถึง บทเพลง ขับซอก็คือ ร้องเพลงนั่นเอง การขับซอเป็นการแสดงที่พบเห็นได้ในแถบจังหวัดภาคเหนือไม่ว่าจะเป็น เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน เป็นต้น แต่ในการขับซอครั้งแรกนี้ ไทยโชว์นำเสนอ ขับซอเมืองแพร่ก่อน และจะค่อยๆ นำเสนอให้ครบทุกจังหวัดครับ” “...จังหวัดแพร่ เป็นเมืองบนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยม ถูกขนานนามว่า เมืองพลนคร........ ในด้านวัฒนธรรม จังหวัดแพร่นับว่า เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีตและสืบ ทอดมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการละเล่นเพลง ร้องพื้นบ้านที่เรียกว่า “ซอ” ซึ่งจัดเป็นบทเพลง ชนิดหนึ่ง ใช้ขับซอ โต้ตอบกัน ให้ทั้งความ เพลิดเพลิน สนุกสนาน ความรู้ ความคิด ทั้งใน ด้านปรัชญา และคติสอนใจ การขับซอ การขับ ซอนี้นิยมจัดแสดงในงานฉลองหรืองานปอย ต่างๆ ในการขับซอมีช่างซอ ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน ศิลปินต้องมีปฏิภาณ ร้องโต้ตอบ

ไทยโชว์ อาทิตย์ที่ 15 และ 22 พฤศจิกายนนี้ “เพาะกล้า พันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้าน”

รูปภาพ
คมสันต์ไทยโชว์ดีใจ ได้ 20 เพชรเม็ดงามประดับวงการเพลงพื้นบ้าน สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (ThaiPBS) โดยรายการไทยโชว์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยกองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกันจัดโครงการค่าย “เพาะกล้า พันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้าน” เปิดรับสมัครเยาวชนไทยชาย - หญิง อายุระหว่าง ๑๕ - ๒๕ ปี จำนวน๒๐ คน แบ่งเป็น ชาย ๑๐ คนและหญิง ๑๐ คน ที่มีความสนใจและมีความสามารถทางด้านการแสดงเพลงพื้นบ้าน เข้าค่าย New Gen FS ระหว่างวันที่ ๑ - ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเรียนรู้และฝึกปฏิบัติกับครูศิลปินแห่งชาติ อาทิ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ และครูชินกร ไกรลาศ ตลอดระยะเวลาการเข้าค่ายได้มีการทดสอบการแสดง และประเมินผล เพื่อเก็บคะแนนสะสม และในวันสุดท้ายปิดค่าย น้องๆเยาวชนทุกคนจะได้มีโอกาสแบ่งกลุ่มสร้างสรรค์ออกแบบรูปแบบการแสดงอย่างอิสระ เพื่อนำเสนอในรายการไทยโชว์ ตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนเต็มนะครับ ที่เยาวชน 20 คน ที่ฝ่าด่านแรกจากจำนวนผู้สมัครกว่า 100 คน ได้มีโอกาสเข้าค่าย “เพาะกล้า พันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้าน” ซึ่งเชื่อเหลือเกินครับว่า พวกเขาได้รับความรู้และเก็บเกี่ยวประ