บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2009

คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไป “สนามควาย” ชม “ละครชาตรี บ้านเรืองนนท์”

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ พาไป “สนามควาย” ชม “ละครชาตรี บ้านเรืองนนท์” สนามควายก็คือ ย่านหลานหลวงในปัจจุบันนี่แหละครับ หลานหลวงถือเป็นแหล่งรวมของบรรดาศิลปินที่มีชื่อเสียงและศาสตร์ศิลปะการแสดงหลากหลายแขนง ที่โดดเด่นและมีความเป็นมายาวนานก็คือ ละครชาตรี ครับ ซึ่งเป็นการแสดงที่พัฒนามาจาก โนรา(ชาตรี) ของภาคใต้ แต่มีการเพิ่มเนื้อเล่นเป็นเรื่องเป็นราว โดยครูพูน เรืองนนท์ (บิดาของครูทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ตั้งชื่อรูปแบบการแสดงแบบนี้ว่า ละครชาตรี เล่นสืบทอดกันมาในตระกูล “เรืองนนท์”เป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวบ้านร้านถิ่น เพราะใช้ภาษาพื้นบ้าน สนุกสนานเข้าใจง่าย จนบางที่ก็จ้างไปเล่นแก้บน จนบางทีเรียกกันว่า “ละครแก้บน” ก็มี แต่แก่นของละครชาตรีหรือลักษณะเฉพาะตัวของ ละครชาตรี จะต้องมี โหมโรงชาตรี,ประกาศหน้าบท และซัดชาตรี(ซัดหน้าเตียง) 3 อย่างนี้ขาดไม่ได้ครับ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรไทยโชว์ เล่าความเป็นมาของ ละครชาตรี อย่างสนุกสนานเป็นฉากๆ ละครชาตรี บ้านเรืองนนท์ ที่รายการไทยโชว์นำเสนอ จะเป็นเรื่อง แก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก ซึ่งเป็นตอนที่สนุกสนาน ด้วยลีลาแก่นแก้วเฟี้ยวฮาของนางเอกฟันจอบ นางแก้

รายการไทยโชว์ ตอนขยับกรับ ลับโลกา

รูปภาพ
รายการไทยโชว์ ตอน “ขยับกรับ ลับโลกา” บทโทรทัศน์และบันทึกถอดความโดย คมสันต์(วรรณวัฒน์) สุทนต์ http://www.khomsun.com/ วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2552 ดนตรีประจำรายการไทยโชว์ โลกจะสดับ เมื่อเราขยับ โลกจะสดับ เมื่อเราบรรเลง เรามีดีที่อยากให้เห็น เราแสดงทุกอย่างให้ชมจะบรรเลงให้ก้องไปไกล จะโชว์เพลงไทยให้เขานิยม นี่คือตัวเรา นี่คือชีวิต นี่คือภาษา นี่คือสมบัติ ที่ทรงคุณค่า ไม่เคยหยุดยั้ง ไม่เคยยอมแพ้ กับกาลเวลา เพื่อยังคงอยู่ ในวันข้างหน้า “เพราะเราไม่อยากให้หายไป” ThaiShow Break 1 Super ขึ้นเต็มจอ ไทยโชว์ตอน “ขยับกรับ ลับโลกา” ร่วมไว้อาลัยครู แจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2538 ครูแจ้งขับเสภา เปิดรายการไทยโชว์ ตอนแรก “ขยับกรับขับเสภา” อะหังวันทา สามิภักดิ์ ด้วยรักกาพย์กลอน อักษรสยาม..... ผู้ดำเนินรายการ คมสันต์ : (ด้นสด) ในเช้าวันที่ 16 มิถุนายน ปีพุทธศักราช 2552 ชาวไทย หรือคนไทยทั้งประเทศได้สูญเสีย บรมครู ครูขับเสภาคนสำคัญครับ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ และวันนี้ครับ(วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2552) รายการไทยโชว์ได้เดินทางมาที่ วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อมาร่วมไว้อาลัยให้แ

คมสันต์ ค้นหา มังคละแบบสุโขทัย สำรวจก่อนออกภาคสนาม รายการไทยโชว์

รูปภาพ
กลองมังคละ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาหลายๆเรื่องเกี่ยวกับจำกัดขอบเขต หรือสร้างจุดขายต่างๆของจังหวัด เพราะถ้าพูดถึงมังคละต้อง พิษณุโลก ทั้งที่จังหวัดอื่นๆก็มี และมีพร้อมๆกันไม่ว่าจะเป็น สุโขทัย อุตรดิตถ์ เหมือนกับคำว่าเมืองหมอแคน ต้องเป็นขอนแก่น ทั้งที่ทุกจังหวัดในภาคอีสานก็มีหมอแคนเหมือนกัน ว่างๆ จะเขียบันทึกไว้ให้อ่าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัยนะครับ เข้าเรื่องเลย "เล่าเรื่องตามรูป" ผู้ใหญ่ประยูร ศรีสำโรง สาธิตการแขวนกลองมังคละไว้กับตัวนักดนตรี กลองมังคละเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จ๊กโกร๊ด" เรียกตามเสียงตีนั่นแหละครับ รูก้น (อาจดูไม่สุภาพหน่อยนะ) กลองมังคละ ที่เสียงมันดัง มันแหลม สะท้านทรวงก็ตางนี้แหละคุณเอ๊ย คานหามฆ้องโหม่ง อันนี้เป็นสาธิตมังคละ ไม่เกี่ยวกับเทพีหาบเงิน หาบทอง ที่ท้องสนามหลวง ฉาบใหญ่(ซ้าย) ฉายเล็ก(ขวา) คนเดียวล่อตีคนเดียว ภูมิปัญญาคนไทยครับ ครูประทีป สุขโสภา ศิลปินพื้นบ้านสุโขทัย ไกด์ผู้พาไปหาปราชญ์ชาวบ้าน นี่ถ่ายที่บ้าน สรรคโลก สุโขทัย

คมสันต์ สุทนต์ สำรวจก่อนออกภาคสนาม รายการไทยโชว์ ที่กำแพงเพชรและสุโขทัย

รูปภาพ
แม่เพลงพื้นบ้าน นครชุมวัยแปดสิบ ป้าแฉล้ม บุญสุข อารมณ์ดี ตาดี หูดี จับปากกาไม่สั่น ลายมือสวย จำเพลงได้แม่นยำนัก อาจารย์สุวรรณ สังข์สุวรรณ ผู้ก่อตั้งรวบรวมพ่อเพลงแม่เพลงพื้นบ้าน นครชุม กำแพงเพชร ลิเกป่า นครชุม กำแพงเพชร คมสันต์ ได้มีโอกาสไปคุยกับ อาจารย์สุวรรณ สังข์สุวรรณ ผู้รวบรวมพ่อเพลงแม่เพลงพื้นบ้าน มาเล่นลิเกป่ากัน และได้ฟังการสาธิตร้องทำนองลิเกป่าสดๆ จากแม่เพลงรุ่นใหญ่ ป้าแฉล้ม บุญสุข อายุ 80 ปี ซึ่งความจำยังดีเยี่ยม เสียงชัด สายตาดี ยังจับปากกานิ่ง คัดชื่อลายมือสวย นอกจากลิเกป่า ยังสาธิต เพลงคล้องช้าง แบบนครชุม กำแพงเพชร เพลงรำวง เพลงกล่อมเด็ก แนวทางก่อนมาไทยโชว์คือ อยากให้รวบรวมเยาวชนคนรุ่นใหม่ มาฝึกฝน รับการถ่ายทอด สร้างเรื่องสร้างโชว์ให้สนุกสนานกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ทั้งในท้องถิ่น และที่ดูรายการไทยโชว์ อยากเล่น อยากร้อง อยากดู 3 เดือน นับแต่นี้ไป จะดูพัฒนาการ และการบ้านที่ให้ไว้ครับ

“คมสันต์ สุทนต์”พิธีกรไทยโชว์ พาไปอีสาน ชมโปงลาง คณะแคนลำโขง หนองคาย

รูปภาพ
รายการไทยโชว์วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน นี้ จะพาท่านผู้ชมไปที่จังหวัดหนองคาย เพื่อค้นหาศิลปะแห่งลุมน้ำโขงที่น่าหลงใหลซึ่งเป็นการแสดงรำคลอเคล้ากับมนต์เสน่ห์แห่งเสียงไม้ นั่นก็คือ โปงลาง “คณะแคนลำโขง” คมสันต์ สุทนต์ พิธีกรรายการไทยโชว์กล่าวว่า “ศุกร์นี้รายการไทยโชว์จะพาท่านผู้ชมมารู้จักกับโปงลาง คณะแคนลำโขง ชมรมนาฏศิลป จังหวัดหนองคาย ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน พ.ศ. 2552 โล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดนจุดเด่นของคณะนี้คือไม่ได้ก่อตั้งโดยโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาใดๆ แต่ก่อตั้งขึ้นด้วยความรัก ความศรัทธาในศิลปะการแสดงพื้นบ้านของบุคคล 2 ท่าน คือ อาจารย์สุจินต์ ภมรศิริ และอาจารย์ยอดยิ่ง กล้าตั้งใจ ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับเยาวชนที่มีใจรักในศิลปะการแสดงโปงลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งต่อมาได้รับเกียรติจากครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้านปี 2529 ให้คำปรึกษาในด้านการแสดง และการสร้างสรรค์เครื่องดนตรีชิ้นพิเศษให้ไว้เป็นอนุสรณ์กับคณะแคนลำโขงอีกด้วย” คมสันต์พิธีกรที่หลงใหลในศิลปะก