บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2010

ไทยโชว์ ตอน “นักเลงเพลงบอก กลอนศิลป์ถิ่นเมืองใต้

รูปภาพ
ข่าวประชาสัมพันธ์ไทยโชว์ คมสันต์ ไทยโชว์ พาไปลุยถิ่น นักเลงเพลงบอก นครศรีฯ อาทิตย์ 7 มีนาคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ พาหนีร้อนรับลมทะเลใต้ ลุยถิ่นนักเลงเพลงบอก นครศรีธรรมราช พบบอกสมใจ ศรีอู่ทอง แม่เพลงสุดยอดมุตโต ร้องด้นสดได้ดังใจนึก และเข้าป่าชายเลนค้นหาช้างเผือกเพลงบอกเยาวชนเชือกน้อย เมืองปากพนัง คมสันต์ สุทนต์ เล่าให้ฟังว่า “เพลงบอกเป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันมากในทางภาคใต้ โดยเฉพาะแถบจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกกันว่าเป็นถิ่นของนักเลงเพลงบอกเลยกันทีเดียว...สมัยก่อนแม่เพลง ที่เป็นนักร้องต้นเสียงจะเป็นหญิงหรือชายก็ให้เกียรติเรียกว่าแม่เพลงเหมือนกัน ก็จะร้องกันคราวหน้าสงกรานต์เพื่อบอกป่าวประกาศให้ชาวบ้านร้านถิ่นว่าปีนี้ นางสงกรานต์จะทรงพาหนะอะไร ใส่เสื้อถืออาวุธอะไร สงกรานต์ปีนี้จะจัดงานกันอย่างไร,ที่ไหน เพราะสมัยก่อนยังไม่มีปฏิทิน แล้วก็มีลูกคู่รับเป็นทำนองเฉพาะ ฟังเผินๆอาจคล้ายร้องโนราห์นะครับ แต่มีที่มาที่ไปต่างกัน เพราะมีข้อสันนิษฐานว่า กลอนเพลงบอกพัฒนามาจาก เพลงเห่หรือเพลงฉะ บางทีก็เรียกว่าแปดบทซึ่งได้รับความนิยมในแถบภาคใต้เกือบ 200 ปีมาแล้ว จนถึงรัชกาลที่ ๕ พระรัต
รูปภาพ
คมสันต์ ไทยโชว์ เชิญชม “ไทยคิด(ส์) ไทยโชว์” อาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เชิญชมความสามารถของเยาวชนดนตรีไทยของโรงเรียนดนตรีศรทอง มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ในโชว์รูปแบบ เครื่องสายไทยผสมดนตรีนานาชาติอย่าง ดานโบ(พิณสายเดียว เวียดนาม), พิณปีกนก-พม่า,กู่เจิง-จีน,ขิมไทยฯลฯ ด้วยเพลงไทยหลากหลายอารมณ์ เพลงความงามแห่งลำน้ำโขง ร้อยเรียงสำเนียงเพลงจีน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม เสมือนบรรยายความงามของลำน้ำโขงด้วยเครื่องสายนานาชาติ,เพลงทยอยญวน , เพลงเขมรไทรโยค , เพลงลาวเจ้าซู ๒ ชั้น, เพลงเชิดนอก เดี่ยวขิม ๒ ตัว, เพลงพริกขี้หนู คู่กัด, เพลงเขมรโพธิสัตว์ ๒ ชั้น, เพลงสายหมอกดอกเหมย, เพลงเทพวายุ เป็นการดวลขิมเพื่อแสดงความแม่นยำในการจดจำกระบวนเพลงกันแบบท่อนต่อท่อน คมสันต์ สุทนต์ เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า “สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้น้องๆเยาวชนกลุ่มนี้มีความสามารถในการเล่นดนตรีได้ดีก็เพราะได้ครูที่มีความสามารถในการถ่ายทอดสูงอย่างครูตั๊ก – อาจารย์ชนก สาคริก ซึ่งท่านเป็นผู้บุกเบิกซอฟแวร์ช่วยสอนดนตรีของเมืองไทยด้วยครับ... เพราะฉะนั้น ใครที่อยากรู้ว่าซอฟแวร์จะม

คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ ชวนพิสูจน์ “มีอะไรในกอไผ่” อาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์นี้

รูปภาพ
ผ่านมาหนึ่งปีพอดีเป๊ะที่ วงกอไผ่ ในแบบไทยแท้เคยมาเล่นแบ็คอัพให้กับรายการไทยโชว์ตอนขยับกรับขับเสภาและตามหาซอสายฟ้าฟาด วันนี้กอไผ่กลับมาเยือนไทยโชว์อีกครั้งในรูปแบบ ดนตรีไทยร่วมสมัย สนุกเร้าใจเข้มเต็มพิกัด เกินความคาดหมาย คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าให้ฟังว่า “ผมมองว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของวงการดนตรีไทยเลย คือเป็นวงที่รวมตัวกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิงเด็กชายเมื่อปี 2522 แล้วก็เข้าประกวดดนตรีฯ ปี 2526 ก็ชนะทั้งวง และทุกเครื่องดนตรีไม่ว่าซอด้วง ซออู้ จะเข้ โทนรำมะนาฯ ก็ชนะทั้งหมด ซึ่งเป็นความสุดยอด แล้วพวกเขาก็ทยอยสร้างสรรค์ผลงานเพลงทั้งในแบบแผน ผสม ประยุกต์ ทดลอง ร่วมสมัย สารพัดที่จะคิดจะทำขึ้นมาแล้วก็สุดแต่ว่าคนฟังจะนิยามรูปแบบที่กอไผ่นำเสนอว่าเป็นแบบไหน...วันนี้เกือบสามทศวรรษ บรรดาศิลปินเด็กน้อยๆกอไผ่ อ.อานันท์ นาคคง(หน่อง)หัวหน้าวง, อ.ชัยภัคภัทรจินดา(นิค), อ.ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์, อ.อัษฎาวุธ สาคริก(เอ้)ฯ และแตกหน่อให้ศิลปินรุ่นน้องได้ร่วมกอ..อ.เลอเกียรติ มหาวินิจฉัย(อั้ม)มนตรี อ.บรรหาร ปาโล(นุ่ม), อ.อมร พุทธานุ, อ.ทศพร ทัศนะ(ตรี), อ.อัครพล อภิโช(ตั้ม), อ.กฤษฏิ์ เลกะก

คมสันต์ ไทยโชว์ ชวนพิสูจน์ “มีอะไรในกอไผ่” อาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์นี้

รูปภาพ
ผ่านมาหนึ่งปีพอดีเป๊ะที่ วงกอไผ่ ในแบบไทยแท้เคยมาเล่นแบ็คอัพให้กับรายการไทยโชว์ตอนขยับกรับขับเสภาและตามหาซอสายฟ้าฟาด วันนี้กอไผ่กลับมาเยือนไทยโชว์อีกครั้งในรูปแบบ ดนตรีไทยร่วมสมัย สนุกเร้าใจเข้มเต็มพิกัด เกินความคาดหมาย คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าให้ฟังว่า “ผมมองว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของวงการดนตรีไทยเลย คือเป็นวงที่รวมตัวกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิงเด็กชายเมื่อปี 2522 แล้วก็เข้าประกวดดนตรีฯ ปี 2526 ก็ชนะทั้งวง และทุกเครื่องดนตรีไม่ว่าซอด้วง ซออู้ จะเข้ โทนรำมะนาฯ ก็ชนะทั้งหมด ซึ่งเป็นความสุดยอด แล้วพวกเขาก็ทยอยสร้างสรรค์ผลงานเพลงทั้งในแบบแผน ผสม ประยุกต์ ทดลอง ร่วมสมัย สารพัดที่จะคิดจะทำขึ้นมาแล้วก็สุดแต่ว่าคนฟังจะนิยามรูปแบบที่กอไผ่นำเสนอว่าเป็นแบบไหน...วันนี้เกือบสามทศวรรษ บรรดาศิลปินเด็กน้อยๆกอไผ่ อ.อานันท์ นาคคง(หน่อง)หัวหน้าวง, อ.ชัยภัคภัทรจินดา(นิค), อ.ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์, อ.อัษฎาวุธ สาคริก(เอ้)ฯ และแตกหน่อให้ศิลปินรุ่นน้องได้ร่วมกอ..อ.เลอเกียรติ มหาวินิจฉัย(อั้ม)มนตรี อ.บรรหาร ปาโล(นุ่ม), อ.อมร พุทธานุ, อ.ทศพร ทัศนะ(ตรี), อ.อัครพล อภิโช(ตั้ม), อ.กฤษฏิ์ เลกะก

คมสันต์ ไทยโชว์ เชิญชมหุ่นกระบอกโบราณ คณะแม่ชะเวง

รูปภาพ
คมสันต์ ไทยโชว์ เชิญชม “หุ่นกระบอกโบราณ คณะแม่ชะเวง นครสวรรค์” อาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ รายการไทยโชว์ได้เสาะหาการแสดงหุ่นกระบอกโบราณ นครสวรรค์ที่หาชมได้ยาก โดยคนร้องและคนเชิดเป็นคนเดียวกัน ดำเนินเรื่องแบบละครพื้นบ้านต่างจากหุ่นพระนคร ตัวหุ่นมีความสวยงามสไตล์พื้นบ้านสันนิษฐานว่าเป็นหุ่นกระบอกคณะแรกของเมืองไทย ที่มีประวัติสืบทอดมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณร้อยกว่าปี โดยนายเหน่ง เป็นเจ้าของหุ่น และได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกแล้วส่งต่อมาถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนั่นคือ คุณยายเชวง อ่อนละม้ายวัยแปดสิบปีเต็ม คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าให้ฟังว่า “ก่อนนหน้านั้นรายการไทยโชว์ได้เคยนำเสนอหุ่นกระบอกอีสานเพชรหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น,หุ่นกระบอกบ้านตุ๊กกะตุ่น, หุ่นสายเสมาและหุ่นช่างฟ้อนโจหน่าไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งได้รับกระแสเสียงตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับคนชอบหุ่นโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเห็นหุ่นไทยในรูปแบบต่างๆ... หุ่นกระบอกของคุณยายชะเวง อ่อนละม้ายก็ถือว่าเป็นหุ่นกระบอกคณะหนึ่งที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในท้องถิ่นภาคกลาง ตัวหุ่นยังคงอนุรักษ์ไว้ให้เป็นแบบเดิมๆมีความสว