บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2010

คมสันต์ สุทนต์ ไทยโชว์ พาไปเบิ่ง“หมอลำไทเลย” อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคมนี้

รูปภาพ
พาคุณผู้ชมเดินทางข้ามภูเขากว่าร้อยลูก ไปเบิ่งต้นตำหรับหมอลำไทเลย “บ้านน้ำพร เชียงคาน” และสนุกกับลูกหลานหมอลำไทเลยโรงเรียนนาด้วงวิทยา “เรื่องจำปาสี่ต้น” ในรายการไทยโชว์ วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 เวลา 18.00 น. คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าความเป็นมาของหมอลำไทเลยว่า หมอลำไทเลย เป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ แมงตับเต่า เพชรบูรณ์ รูปแบบการแสดง เครื่องแต่งกาย ดนตรี ท่ารำมีความคล้ายคลึงกัน แต่สำเนียงในการร้องและการเจรจาจะมีความแตกต่างกันตามลักษณะเสียงพื้นถิ่น มีเสน่ห์ไปคนละแบบครับ ผมและทีมงานไทยโชว์ได้เดินทางข้ามภูเขาหลายร้อยลูกไปที่บ้านน้ำพร อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหมอลำไทเลย เพื่อไปพูดคุยกับครูเทือง แก้วดวงดีผู้ก่อตั้งคณะหมอลำไทเลยบ้านน้ำพรตั้งแต่พ.ศ. 2487 พร้อมชมการสาธิตหมอลำไทเลยแบบต้นตำหรับจากศิลปินพื้นบ้านคุณตาคุณยาย รุ่นลายครามที่ยังคงเล่นได้สนุกขลัง แฝงพลังเสน่ห์ในการแสดงทุกฉาก ทุกตอนครับ ช่วงท้ายก่อนกลับครูสุวิทย์ สารเงิน ได้พาลูกศิษย์หมอลำไทเลยโรงเรียนนาด้วงวิทยา มากราบคาราวะครูต้นตำหรับ ซึ่งเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่จะบันทึกว่าหมอลำไทเลย มีเยาวชนคนหนุ

คมสันต์ ไทยโชว์พาเที่ยวเชียงคาน สนุกกับ “แมงหน้างาม”

รูปภาพ
อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยไม่ได้ขึ้นชื่อแค่ “ถนนชายโขง” อย่างเดียว เพราะยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจที่ไทยโชว์ จะพาไปชมพร้อมกัน นั่นคือ “แมงหน้างาม หรือ ผีขนน้ำ” ในรายการไทยโชว์ วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2553 เวลา 18.00 น. คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าเรื่องแมงหน้างามให้ฟังว่า เมืองเชียงคานไม่ใช่มีชื่อเสียงแค่ ถนนชายโขง อย่างเดียวครับ เพราะยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจหลายอย่างที่ผมและทีมงานไทยโชว์ จะพาไปชมพร้อมกัน นั่นคือ แมงหน้างาม หรือ ผีขนน้ำ เป็นการละเล่นในประเพณีบ้านนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ช่วงบุญเดือนหกที่ผ่านมา เป็นพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวบ้านร่วมกันจัดขึ้นเรียกว่า “เลี้ยงบ้าน” โดยกำหนดเอาวันเสร็จสิ้นจากการทำไร่ทำนาโดยมี “จ้ำ (ผู้ประกอบพิธีกรรม)” เป็นผู้ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างชาวบ้านกับเจ้าปู่ แมงหน้างาม เป็นชื่อที่เจ้าปู่เรียก ส่วน ผีขนน้ำ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกครับ...พิธีเลี้ยงบ้านนี้จะทำกันทุกปี แค่ปีละครั้งเท่านั้น จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ ที่ผีปู่ผีย่า ตลอดจนผีบรรพบุรุษในหมู่บ้าน ได้ปกปักรักษา คุ้มครองตนและชาวบ้านให้อยู่เย็นเป

คมสันต์ ไทยโชว์เชิญสัมผัส “อัศจรรย์แต่แมงตับเต่า” อาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553

รูปภาพ
พบความมหัศจรรย์ของแมงตับเต่า สัตว์ปีกตัวเล็กๆที่เป็นแรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ ให้ศิลปินชาวบ้านย่านเมืองเพชรบูรณ์ รังสรรค์ผูกเรื่องร้องรำที่เรียกขานว่า “แมงตับเต่า” ในรายการไทยโชว์ ตอน “อัศจรรย์แต่แมงตับเต่า” อาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าให้ฟังถึงที่มาของโชว์ครั้งนี้ว่า*** แมงตับเต่า เป็นศิลปะการแสดงที่พอมีให้เห็นอยู่บ้างแถว อ.หล่มเก่า และอ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ รูปแบบการแสดงฉาก การแต่งกาย และเครื่องดนตรีบางชิ้นเช่นระนาด มีส่วนคล้ายลิเก แต่การร้องดำเนินเรื่องมีลักษณะเป็นแบบหมอลำเรื่อง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นหมอลำหมู่ที่เก่าแก่ที่สุดด้วย แมงตับเต่านั้นสันนิษฐานว่ามีรูปแบบการรำเกี้ยวพาราสี หยอกล้อแบบสนุกสนาน อารมณ์เหมือนกับกลอนที่ว่า “แมงตับเต่าแมงเม่าขี้หมา จับอยู่ฝาแมงมุมแมงสาบ จับซาบลาบแมงหวีแมงวัน อัศจรรย์แต่แมงตับเต่า...”ลีลารำร่ายโยกย้ายคล้ายการบินของแมงตับเต่า การเล่นหรือเต้นแมงตับเต่า แบ่งออกเป็น สองฝ่าย ชาย หญิงโดยมีดนตรีพื้นบ้าน เมื่อการแสดงแมงตับเต่าจบแล้ว ก็จะต่อด้วยการร้องเล่าเรื่องนิทานพื้นบ้านต่อไปอีก จนได้พัฒนามาเป็นแมงตับเต่าของคณะครูสมบูรณ์

“ตุ๊บเก่ง เพลงสวรรค์ป่าแดง” อาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคมนี้

รูปภาพ
คมสันต์ ไทยโชว์ พาสัมผัสสวรรค์บนดินถิ่นเมืองเพชรบูรณ์ “ตุ๊บเก่ง เพลงสวรรค์ป่าแดง” อาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคมนี้ สัมผัสสวรรค์บนดินถิ่นเมืองเพชรบูรณ์ ในจินตนาการเสียงเพลงจากศิลปินชั้นครูและเยาวชนคนรุ่นใหม่ วงตุ๊บเก่งแห่งบ้านป่าแดง และชมระบำตุ๊บเก่งที่งดงามตระการตาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ในรายการไทยโชว์ ตอน ตุ๊บเก่ง เพลงสวรรค์ป่าแดง วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม2553 เวลา 18.00 น. คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ เล่าที่มาของโชว์สัปดาห์นี้ว่า*** วงตุ๊บเก่ง หรือที่นักดนตรีชาวเพชรบูรณ์ เรียกว่า ตุ๊บเหม่ง ตามเสียงของเครื่องดนตรีกำกับจังหวะคือกลองสองหน้าที่ตีดัง “ตุ๊บ” ฆ้องกระแต ตีดัง “เหม่ง” กลายเป็นที่มาของวงตุ๊บเหม่ง และเพี้ยนเสียงมาเป็นตุ๊บเก่งในปัจจุบัน ซึ่งยังพอมีให้ได้เห็นได้ฟังบ้างในงานบุญและงานศพ นอกจากนั้นอาจได้เห็น วงตุ๊บเก่งอยู่ในขบวนแห่งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เพชรบูรณ์ปีละครั้งเท่านั้น ถือว่าเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นเมืองเพชบูรณ์ แถวบ้านสะเดียง บ้านป่าเลา และบ้านป่าแดง โดยเฉพาะที่บ้านป่าแดงนี้มีการสืบสานต่อลมหายใจให้วงตุ๊บเก่ง จากรุ่นครูผู้ใหญ่-นักดนตรีชาวบ้าน ถ่ายทอดให้เด็ก-เยาวชนคนรุ่นใ