บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011

คมสันต์ สุทนต์รับงานพิธีกร,ดำเนินรายการ,วิทยากร ด้านดนตรี ศิลปวัฒนธรรม

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์รับงานพิธีกร,ดำเนินรายการ,วิทยากร ด้านดนตรี ศิลปวัฒนธรรม ติดต่อ 089 956 4055 Previous Job พิธีกรงาน “ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยา มรดกโลกและงานกาชาด ประจำปี 2553 ”Ayutthaya world Heritage and red Cross Fair 2010 10 -19 ธันวาคม 2553 ณ วัดหลังคาขาว (ตรงข้ามวัดมหาธาตุ) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พิธีกรงาน “ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ 1” 5-7 สิงหาคม 2554 ณ อุทยาน ร. 2 และวัดภุมรินทร์กุฎีทอง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมูลนิธิหลวงประดิษบ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) พิธีกรงาน “แถลงข่าวงานมหกรรมโนราโรงครู” 17 มกราคม 2554 ณ บริเวณโถงหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินรายการเสวนางาน “เกริกวิชาการ ปี 2554” 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ณ มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพมหานคร โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเกริก วิทยากรรับเชิญ “โครงการศิลปะการพูดในที่ชุมชนและการพัฒนาบุคลิกภาพ” ณ ห้อง ศร 301 อาคารเรียนรวม 70 ปีแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงให

คมสันต์เชิญชมบางบรรเลงเพลงระนาด ตอนไหว้ครู ห้าทุ่ม 10 ตุลาคมนี้ ทางไทยพีบีเอส

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการเชิญชม “บางบรรเลงเพลงระนาด” ตอนไหว้ครู พาไปร่วมงานไหว้ครูเทพนาฏดนตรีที่วัดพระพิเรนทร์ พูดคุยกับครูบุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ (พระเอกลิเก-นักระนาด), คุณหมอสุพจน์ อ่างแก้ว ประธานสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน,คุณลุงทวี อิศรางกูร ณอยุธยา, พี่ปู ดอกกระโดน-อ.บุญสร้าง เรือนนนท์ คนระนาดไหว้ครู ไปรู้จักและไหว้ครูมนุษย์ ครูต๋อง-อนุสรณ์ พรมวิหาร หนุ่มหล่อวิศกรทางการพิเศษฯ กับพ่อจ้อย-ดำรงศักดิ์ พรมวิหาร ที่มีใจเชื่อมโยงครูเทพและลูกศิษย์ตัวน้อย ที่เรือนบรรเลง แห่งบุรีรัมย์ (อ.นางรอง) ชมรมดนตรีไทยบ้านโคกมะค่าโหรน เรื่องราวของผ้าป่าเครื่องดนตรีไทย ยกบ้านไม้ให้เป็นเรือนสอนดนตรีไทย หมู่บ้านที่กล่าวขานกันว่าท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) เคยไปสอนวิชาดนตรีไทยที่นั่น? “บางบรรเลงเพลงระนาด” ตอนไหว้ครู วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2554 เวลา 23.00 น. ทาง ไทยพีบีเอส “แล้วคุณ..จะรักระนาด ทุกชาติไป”

หนังใหญ่บางน้อย โดยคมสันต์ สุทนต์

สงัด ใจพรหม ครูช่างหนังใหญ่บางน้อย ศิลปินดีเด่น สาขาทัศนศิลป์ จังหวัดสมุทรสงคราม ประจำปี 2542 ข้าไหว้พระเสร็จเรืองฤทธา ทศรถมหา เป็นเจ้าสำหรับพระธรณี ไหว้บาทวรนาถจักรี ในพื้นปัถพี ผู้ใดจะเปรียบปานปูน …………….. จากบทพากย์ไหว้ครูหนังในสมุทรโฆษคำฉันท์ (ประมาณ พ.ศ. 2200) ถ้าพูดถึงหนังใหญ่ มหรสพไทยที่ว่ายิ่งใหญ่อลังการอย่างชื่อ ใครหลายคนคงเคยได้ดู ได้รู้ว่ายังพอหาชมได้ในรูปแบบสาธิตที่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี, วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง และวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี ใครบ้างจะรู้ว่าที่วัดบางน้อย อำเภอบางคณฑี ก็เคยมีหนังใหญ่เหมือนกัน? นี่คือที่มาของการตามหาหนังใหญ่ สมุทรสงคราม เป็นการเดินทางที่ไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าแต่อย่างใด ตามคำบอกเล่านั้นว่ามีครูช่างท่านหนึ่งใช้ชีวิตวัยเกษียนอยู่ที่บ้านสวนหลังวัดบางน้อย ตอนแรกก็เข้าใจว่าน่าจะอยู่แถวตลาดน้ำบางน้อย ตลาดน้ำที่สงบเงียบเหมาะกับคนที่ไม่ชอบความพลุกพล่าน อยู่ในเขตอำเภอบางคณฑี ห่างจากตลาดน้ำอัมพวาประมาณ 5 กิโลเมตร แต่ก่อนชาวบ้านร้านถิ่นเขาเปิดขายของกันเฉพาะ 3, 8 และ 13 ค่ำ เดี๋ยวนี

ตามหาหุ่นกระบอกอัมพวา ที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ โดยคมสันต์ สุทนต์

ตามหาหุ่นกระบอกอัมพวา ที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ โดยคมสันต์ สุทนต์ โดยคมสันต์ สุทนต์ “ถ้าอยากรู้เรื่องหุ่นกระบอกอัมพวา ต้องไปตั้งต้นที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ ตำบลแควน้อย..” นี่คือข้อมูลเริ่มต้นของการค้นหาหุ่นกระบอก เมืองอัมพวา ผมเคยอ่านข่าวผ่านตาว่าวัดนี้เคยจัดงาน "ถนนคนเดิน อนุรักษ์วัฒนธรรม วัดบางเกาะเทพศักดิ์" มีสาธิตการทำขนมไทยชมหนังกลางแปลงโบราณ ชมดนตรีไทย และการเชิดหุ่นกระบอกด้วย ย้อนไปซักสองร้อยกว่าปี ตามประวัติศาสตร์ที่แห่งนี้ เคยเป็นสนามรบสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยยกทัพมายืดค่ายบางกุ้งคืนจากพม่า บริเวณวัดบางเกาะเทพศักดิ์จะติดต่อกับค่ายบางกุ้ง มีเพียงคลองแควอ้อมคั่นกลาง และคลองแควอ้อมยังสามารถเดินทางเรือหรือทางน้ำไปจังหวัดราชบุรี หรืออำเภอปากท่อได้ในสมัยก่อน เคยเป็นคลองลัดที่จะไปจังหวัดราชบุรีและตลาดนัดปากท่อ เพื่อหนีน้ำเชี่ยวหรือน้ำหลากในเวลาน้ำเหนือลง น้ำในแม่น้ำแม่กลองจะไหลเชี่ยวจัด บรรดาพ่อค้าแม่ค้า จึงหลบหนีกระแสน้ำไปทางคลองแควอ้อม ไม่ใช่แค่เรื่องการคมนาคมหรือการค้าขายอย่างเดียว แม้แต่เรื่องดนตรีก็ทำให้นักดนตรีหลายสำนักได้ไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนคว

คมสันต์ สุทนต์ khomsun_suthon@hotmail.com

Email คมสันต์ สุทนต์ khomsun_suthon@hotmail.com

ตะลุ่ม สุทนต์ แม่เพลงอัจฉริยะ

รูปภาพ
นางตะลุ่ม สุทนต์ แม่เพลงอัจฉริยะผู้ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาจากระบบโรงเรียน แต่สามารถสร้างศิษย์ให้เป็นศิลปินแห่งชาติได้ นางตะลุ่ม สุทนต์ เป็นบุตรนายปูด และนางผูก ศรีชื่น เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ณ บ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๓ คน สมรสกับนายจอน สุทนต์ มีบุตรธิดา ๘ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๓ คน นางตะลุ่ม สุทนต์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว นางตะลุ่มไม่เคยได้รับการศึกษาในสถานศึกษาแห่งใด เขียนหนังสือไม่ได้ แต่มีไหวพริบปฏิภาณในการด้นกลอนสดและเล่นเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่เด็ก จึงมีความชำนาญเป็นพิเศษ เป็นแม่เพลงพื้นบ้านแสดงในงานต่าง ๆ ด้วยใจรัก โดยไม่คำนึงถึงค่าตอบแทน ผลงานดีเด่น จากการที่เป็นแม่เพลงพื้นบ้านและเล่นเพลงพื้นบ้านเป็นอาชีพมาเป็นเวลานาน จึงมีผลงานการแสดงอย่างมากมาย เช่น การเล่นเพลงพื้นบ้านที่สวนอัมพร และศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร และในงานเทศกาลต่าง ๆ ของจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังเป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู

ครูหมัด จ.ส.อ.สมชาย ดุริยประณีต

ครูหมัด จ.ส.อ.สมชาย ดุริยประณีต : มือฆ้องสุดยอดในตำนานประชันปี่พาทย์ แห่งสำนักบ้านบางลำพู คมสันต์วรรณวัฒน์ สุทนต์ เรียบเรียง ครูหมัด หรือบางท่านที่สนิทชิดเชื้อก็จะเรียกอย่างเป็นกันเองว่า “ป๋าหมัด” จ.ส.อ.สมชาย ดุริยประณีต ผมถือว่าท่านเป็นมือฆ้องสุดยอดในตำนานประชันปี่พาทย์ แห่งสำนักบ้านบางลำพู -ดุริยประณีต ครู(จ.ส.อ.สมชาย ดุริยประณีต) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2479 เป็นบุตรชายคนที่สอง ของครูชั้น ดุริยะประณีต และคุณแม่จิตรา (นามสกุลเดิม โชติมัย) เป็นหลานปู่ศุข - ย่าแถม ดุริยประณีต ตอนเล็กๆ ซัก สามสี่ขวบ ก็ตามครูผู้ใหญ่ในบ้าน ไปตีเครื่องประกอบจังหวะกับวงปี่พาทย์ลิเกคณะหอมหวล ที่วิกตลาดทุเรียน แล้วจึงมาเริ่มฝึกฆ้องกับปู่ศุข ดุริยประณีต, ครูหงส์, ครูอยู่ พวงพรหม เรียนเครื่องหนังเพิ่มเติมจากครูโชติ ดุริยประณีต และหม่อมหลวงสุรักษ์ (ป๋าตู๋) สวัสดิกุล แล้วมาเข้าโรงเรียนนาฏศิลป ชื่อเรียกสมัยนั้น ได้ต่อเพลงกับ ครูหลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตนวิลัย) จากนั้นเรียนต่อเดี่ยวฆ้องวงใหญ่จากครูสอน วงฆ้อง เริ่มตั้งแต่เดี่ยวเพลงแขกมอญสามชั้น ไปจนถึงกราวในและทยอยเดี่ยวสูงสุด ครูไ
รูปภาพ
รูปภาพ
ชื่อโครงการ           ศิลปบรรเลง เพลงอัมพวา ครั้งที่ ๑                                    ในวาระ ๑๓๐ ปี   ชาตกาล   หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)   กิจกรรม                 เชิดชูเกียรติ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) สืบสานประเพณีพิธีไหว้ครูดนตรีไทย                                   และ มหกรรมดนตรีไทยประจำปี ของ จังหวัดสมุทรสงคราม   วันเวลา                 ศุกร์ ๕    เสาร์ ๖    และ   อาทิตย์   ๗   สิงหาคม   พ.ศ. ๒๕๕๔   สถานที่                 จังหวัดสุทรสงคราม   อำเภออัมพวา และ พื้นที่เชื่อมโยง                                  (อุทยาน ร. ๒ , โครงการ ชัยพัฒนานุรักษ์ , บ้านดนตรี – วัดภุมรินทร์กุฎีทอง )   ความเป็นมา หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)   ดุริยกวี ๕   แผ่นดิน   มีพื้นเพเดิมเป็นชาวอัมพวาโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม   พ.ศ.๒๔๒๔ ในครอบครัวปี่พาทย์ ได้ร่ำเรียนดนตรีจากบิดา มีฝีมือทางระนาดเอกดีเยี่ยมตั้งแต่วัยเยาว์ จนได้รับคัดเลือกเข้าไปถวายงานดนตรีแ ด่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภา ณุ รังษีสว่างวงศ์ ในรัชกาลที่ ๕ ที่ “วังบูรพาภิรมย์” กรุงเทพฯ และได้สร้างคุณูปก