บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

มหกรรมกลองนานาชาติ ครั้งที่ 2 ร่วมคมสันต์ สุทนต์ดำเนินรายการ

รูปภาพ
เชิญชมภาพประวัติศาสตร์งานมหกรรมกลองนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่หมู่บ้านทำกลองเอกราช ป่าโมกอ่างทองได้ที่นี่ครับ

คมสันต์ สุทนต์ ภูมิใจได้ร่วมดำเนินรายการ มหกรรมกลองนานนาชาติ ครั้งที่ 2

รูปภาพ
 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดพร้อมกับท่านประธานผู้ผลิตกลองหมู่บ้านทำกลองเอกราช 19 ปีผ่านมา หลังจากเคยที่ผมเคยมาวิจัยกระบวนการผลิตกลอง วันนี้เอกราชเติบโตเป็นแหล่งผลิตกลองระดับโลกแล้วครับ

ตัวอย่างรายการไทยโชว์ คมสันต์ สุทนต์ พิธีกร

รูปภาพ
01 คมสันต์ ไทยโชว์ ราชินีรองเง็ง 02 คมสันต์ ไทยโชว์ แมงหน้างาม 03 คมสันต์ ไทยโชว์ เด็กโขน 04 คมสันต์ ไทยโชว์ ตุ๊บเก่งเพลงสวรรค์ป่าแดง 05 คมสันต์ ไทยโชว์ อาคารดนตรีไทยสมเด็จพระเทพฯ 06 คมสันต์ ไทยโชว์ มหาคีตราชันย์ 07 คมสันต์ ไทยโชว์ รำสวด จันทบุรี 08 คมสันต์ ไทยโชว์ ซอแม่บัวซอน 09 คมสันต์ ไทยโชว์ นักเลงเพลงบอก 10 คมสันต์ ไทยโชว์ โนราบิก 11 คมสันต์ ไทยโชว์ หมอแคนอัจฉริยะ 12 คมสันต์ ไทยโชว์ เครื่องสายและขิมออร์แกน 13 คมสันต์ ไทยโชว์ ขุนอิน 14 คมสันต์ ไทยโชว์ ทำนองไทยในลูกทุ่ง 15 คมสันต์ ไทยโชว์ ทำนองไทยในลูกทุ่ง2 16 คมสันต์ ไทยโชว์ มีอะไรในกอไผ่ คมสันต์ สุทนต์ Khomsun Suthon เคยเรียนที่ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จบประกาศนียบัตรชั้นกลาง สาขาดุริยางค์ไทย (พ.ศ.2528-2533) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่น คณะครุศาสตร์ ภาควิชาดนตรีศึกษา (พ.ศ.2534-2537) กิจกรรมตอนเรียน ชนะเลิศการประกวด สื่อโฆษณาวิทยุ ปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย สวช.(พ.ศ.2535) ประธานฝ่ายศิลปวัฒนธรรม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ (พ.ศ. 2536) รับทุนจากฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยเรื่อง “กระบวนทำกลองหมู่บ้านเอกราช จังหวัดอ่างทอง” (พ.ศ. 2536) เยาวชนดีเ

ระนาดลิเก วิเศษฯ ในบางบรรเลงเพลงระนาด 5 ทุ่ม 19 มีนาคมนี้

รูปภาพ
คมสันต์พาไปพบ ระนาดลิเก วิเศษฯ ในบางบรรเลงเพลงระนาด 5 ทุ่ม 19 มีนาคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการพาไปพบพูดคุยอย่างสนุกออกรสชาดเรื่องระนาดลิเก กับศิลปินวิเศษชัยชาญ อาจารย์พงษ์ศักดิ์ สวนศรี พระเอกลิเกเงินล้าน, ครูบุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ(ลิเก),พี่แก่-ครูสมชาย พิกุลทอง ต้นแบบคนระนาดลิเกยุคเวทีลอยฟ้า, ลุงยอม-ครูพยอม พันธุ์ไม้ และลุงปิ่น-ครูปิ่น ศรแก้ว อดีตระนาดลิเกเลื่องชื่อ พร้อมตามไปชมลิเกเวทีลอยฟ้า ที่บ้านโพธิ์ แปดริ้ว ฟังเพลงกระต่ายเต้น เพลงยอดนิยมที่ลิเกทุกคณะไม่ร้องไม่ได้ ในรายการบางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดลิเก วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 เวลา 23.00 น.(ห้าทุ่ม) ไทยพีบีเอส “..ผมไม่ได้ว่าจะมาเอาดีทางระนาดลิเกเลย พอดีผมนั่งตีแล้วคนชอบ ลิเกชอบ ผมก็เลยนั่งตีมาถึงทุกวันนี้..” “..ระนาดลิเกไม่มีศักดิ์ศรี เปรียบเทียบกับระนาดประชันไม่ได้เลย มันคนระบบ คือระนาดลิเกเป็นระนาดแบบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขาประชันนะมาใส่ในเพลงลิเก ที่เขาประชันมันเหมือนเพลงต้นฉบับ หมายความว่าเราเป็นเหมือนหางแถว..” พี่แก่-ครูสมชาย พิกุลทอง “สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือเปลี่ยนเป็นเวทีลอยฟ้า คนหนุ่มสาวรุ่

ระนาดมอญ บางบรรเลงเพลงระนาด

รูปภาพ

คมสันต์ สุทนต์ พาไปค้นหา ปัตตะหล่า ที่สังขละบุรี ในบางบรรเลงฯ ตอนระนาดมอญ

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการบางบรรเลงเพลงระนาด กับครูจ๊อบ-จักรพันธ์ ดนตรีเสนาะ สายเลือดศิลปินชาวมอญปทุมธานี พาคุณผู้ชมเดินทางไปสังขละบุรี เพื่อไปร่วมค้นหา เครื่องดนตรีมอญที่เรียกว่า “ปั๊ตตาหล่า Pattalar” คมสันต์ สุทนต์เล่าให้ฟังว่า “ภาระกิจของผมและ ครูจ๊อบ-จักรพันธ์ เดินทางไปสังขละบุรีก็เพื่อค้นหาเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “ปั๊ตตาหล่า Pattalar”นะครับ ..ผมเองเกิดมาก็ยังไม่เคยยินกับหูดูกับตาว่า เจ้าเครื่องดนตรีชื่อนี้หน้าตาซุ่มเสียงเป็นอย่างไร? จริงๆบางบรรเลงฯตอนนี้เหมือนพาคุณผู้ชมร่วมเดินทางมาเที่ยวด้วยกันมากกว่า เริ่มจากเราเดินข้ามสะพานอุตตมานุสรณ์ เป็น สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตรข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ในยามเช้าอากาศเย็นสบายหมอกจางๆ เพื่อมาพบกับครูวิน-อรัญญา เจริญหงสา สาวมอญผู้ยืนหยัดต่อสู้ เพื่อความคงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชาติมอญ... แล้วครูวินก็ชวนเราไปใส่บาตรแบบชาวมอญดั้งเดิม กินขนมจีนราดน้ำยาปลาผสมน้ำยาหยวกกล้วยเป็นอาหารมื้อเช้า พาไปไหว้พระที่วัดวังก์วิเวการาม หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งเราได้เห็นภาพแห่งความศรัทธาชาวมอญหลายครอบครัว ร้อยดอกไม้กาญจนิ

ระนาดลิเกวิเศษ เขียนโดยคมสันต์ สุทนต์

รูปภาพ
ระนาดลิเก วิเศษฯ โหมโรงระนาดลิเก วิเศษฯ เรื่องราวของระนาดลิเก วิเศษฯ (วิเศษชัยชาญ)เกิดขึ้นจากที่ผมต้องค้นหาข้อมูลเพื่อถ่ายทำรายการบางบรรเลงเพลงระนาด ก่อนหน้านั้นปลายปี 2554 เกิดมหาอุทกภัยจังหวัดแถบภาคกลางอาทิ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง อยุธยา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นแหล่งคณะลิเกที่สำคัญๆทั้งนั้น ผมและทีมงานถ่ายทำจึงตั้งใจหนีน้ำไปถ่ายทำระนาดลิเกโคราช เพราะที่นั่นน้ำไม่ท่วมและถือเป็นชุมชนลิเกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย มีเรื่องราวขออดีตพระเอกลิเกพ่อเต็ก เสือสง่า, ครูบุญยัง เกตุคง ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินลิเกอีกเกือบกว่า 100 คณะ*** แต่ด้วยเงื่อนไขบางประการ เหมือนบุพเพสันนิวาสที่ผมต้องมาเป็นผู้ดำเนินรายการตอนนี้ แล้วต้องกลับมาตั้งหลักถ่ายทำแถบท้องถิ่นภาคกลาง ผมจึงนั่งทบทวนโจทย์ใหม่ เล็งว่าน่าจะเป็นอยุธยากับอ่างทอง ที่ว่าเป็นอยุธยาก็เพราะนึกถึง พ่อครูหอมหวล นาคศิริ(พ.ศ2442.-พ.ศ.2521) อ.บ้านแพรก กับพระพร ภิรมย์หรือ บุญสม อยุธยา(พ.ศ.2471-พ.ศ.2553) อ.พระนครศรีอยุธยา ที่ถือว่าเป็นตำนานลิเก เมื่อสืบถามหาคนระนาดในยุคนั้น ก็มีลุงลือ เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนระนาดลิเกคู่ใจพระพร ภิรม

คมสันต์ สุทนต์ พาไปคุยกับ ก๊กเฮง จำอวดรุ่นบุกเบิก ในบางบรรเลงเพลงระนาด 5 ทุ่ม 20 กุมภาพันธ์นี้

รูปภาพ
คมสันต์พาไปคุยกับ ก๊กเฮง จำอวดรุ่นบุกเบิก ในบางบรรเลงเพลงระนาด 20 กุมภาพันธ์นี้ คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการ พาคุณผู้ชมไปพูดคุยเคล้าเสียงฮากับจำอวดอาวุโสยุคบุกเบิกวัย 90 ปี ก๊กเฮง- ครูเฉลิมศักดิ์ พุกกะณะสุต เพื่อรู้ที่มาของคำว่า “ระนาดจำอวด” และไปเที่ยวบ้านจำอวดใจดีเมืองเพชรบุรี ลุงเล็ก-ครูชนะ ชำนิราชกิจ ศิลปินครบเครื่องเรื่องร้องรำทำเพลง ปิดท้ายด้วย “ระนาดตลก คาเฟ่” ข้ามยุค พี่ปู ดอกกระโดน-ครูบุญสร้าง เรืองนนท์ ในรายการบางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดจำอวด วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 23.00 น.(ห้าทุ่ม) ทาง ไทยพีบีเอส คมสันต์ สุทนต์ เล่าให้ฟังถึงบางบรรเลงฯ และความหมายของคำว่า ระนาดจำอวด ตอนนี้ว่า “ระนาดจำอวด ตอนนี้เป็นตอนประวัติศาสตร์ที่ไม่อยากให้คนไทยพลาดชม ความรื่นรมย์ร่ำรวยอารมณ์ขันของสามศิลปินจำอวด-ตลกชั้นครู ที่จะมาเล่าเรื่องราวเคล้าเสียงฮา เรียกรอยยิ้มได้เกือบ 1 ชั่วโมงเต็ม.. จำอวด ผมว่าน่าจะมาจากคำว่า “จำมาอวด” (คมสันต์ สุทนต์) มีที่มาจากสวดคฤหัสถ์ในงานศพ อาจจะเป็นเครือญาติกับตลกลิเก, ตลกหลวง, ตลกโขน, ตลกเสภา, เบญจพรรณ.. ระนาดจำอวด น่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจาก จำอวดคณะ

คมสันต์ สุทนต์เชิญสัมผัสไอหนาวใน ระนาดล้านนา 5 ทุ่ม จันทร์ 23 มกราคมนี้

รูปภาพ
คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการเชิญสัมผัสไอหนาวใน บางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดล้านนา ฟังสำเนียงเพลงป๊าดก้อง(ปี่พาทย์เมือง) แล้วร่วมหาคำตอบว่าเสียง“ระนาดล้านนา”คงอยู่หรือเปลี่ยนไป กับวงรักษ์ศิลปเชียงใหม่ ที่ยืนหยัดสืบทอดท่วงทำนองปี่พาทย์ล้านนนา จากคุ้มเจ้าหลวง พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สัมผัสเรื่องราวของคนระนาดวัย 83 ปี พ่อครูสวัสดิ์ ต่ายพูล ศิษย์ครูรอด อักษรทับ คนระนาดฆ้องลือชื่อแห่ง วังบางคอแหลม ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ ซึ่งมี ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นครูประจำวง ตามไปดูครูสวง ต่ายพูล และช่างระนาดสุวิทย์ ต่ายพูลทายาทพ่อครูและศิษย์ ต่อสู้เพื่อให้ปี่พาทย์ล้านาอยู่รอดในงานทรงเจ้า, ถนนคนเดินเชียงใหม่ฯ ปิดท้ายนานาทัศนะระนาดเมืองเหนือกับพ่อครูคำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ สัมผัสไอหนาวและสำเนียงล้านนาใน “บางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดล้านนา” วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2555 เวลา 23.00 น.(ห้าทุ่ม) ทาง ไทยพีบีเอส “แล้วคุณ..จะรักระนาด ทุกชาติไป”

ข่าวคมสันต์ บางบรรเลงเพลงระนาด มติชนรายวัน

รูปภาพ
ข่าวคมสันต์ บางบรรเลงเพลงระนาด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ขอบกราบพระคุณพี่สื่อมวลชนทุกท่านนะครับ ที่ช่วยเมตตาเผยแพร่ข่าวสารรายการที่ดีมีประโยชน์นะครับ คมสันต์วรรณวัฒน์ สุทนต์ 18 มกราคม 2555

คมสันต์ชวนลุยฝ่าฝนไปค้นหา “ไผ่กอหลวง” ในบางบรรเลง-ต้นทางช่างระนาด

รูปภาพ
คมสันต์ชวนลุยฝ่าฝนไปค้นหา “ไผ่กอหลวง” ในบางบรรเลง-ต้นทางช่างระนาด ห้าทุ่ม 16 มกราคมนี้ คมสันต์ สุทนต์ ผู้ดำเนินรายการเชิญชม “บางบรรเลงเพลงระนาด ตอนต้นทางช่างระนาด” สัมผัสชีวิต 3 ช่างระนาด ช่างชัย-ครูสมชัย ชำพาลี กับโรงงานผลิตดนตรีไทยใหญ่สุดในประเทศไทย ที่เมืองกาญจนบุรี, ช่างภูมิใจ รื่นเริง หนุ่มแบงค์ที่พลิกผันมาเป็นช่างดนตรีไทยแบบทำมือ ย่านสวนหลวง กรุงเทพฯ และลุงฮอง-ครูอำนาจ สาระเนตร ช่างระนาดอาวุโสวัย80 ปี เมืองตราด ที่จะพาดั้นด้นลุยฝ่าฝนไปค้นหา “ไผ่กอหลวง” ที่เล่ากันว่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีผู้ทำผืนระนาดจากไม้ไผ่กอนี้ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ทรงโปรดให้อนุรักษ์ไม้ไผ่กอนี้ไว้ จึงได้ชื่อว่า ไผ่กอหลวง กอไผ่แห่งความภาคภูมิใจของชาวตราด และไผ่กอนี้อาจเป็นต้นทางของผืนระนาดไม้ไผ่สุดรักผืนหนึ่ง ของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ติดตามได้ทาง “บางบรรเลงเพลงระนาด ตอนต้นทางช่างระนาด” วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2555 เวลา 23.00 น. ทาง ไทยพีบีเอส “แล้วคุณ..จะรักระนาด ทุกชาติไป”