บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2012

ระนาดลิเกวิเศษ เขียนโดยคมสันต์ สุทนต์

รูปภาพ
ระนาดลิเก วิเศษฯ โหมโรงระนาดลิเก วิเศษฯ เรื่องราวของระนาดลิเก วิเศษฯ (วิเศษชัยชาญ)เกิดขึ้นจากที่ผมต้องค้นหาข้อมูลเพื่อถ่ายทำรายการบางบรรเลงเพลงระนาด ก่อนหน้านั้นปลายปี 2554 เกิดมหาอุทกภัยจังหวัดแถบภาคกลางอาทิ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง อยุธยา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นแหล่งคณะลิเกที่สำคัญๆทั้งนั้น ผมและทีมงานถ่ายทำจึงตั้งใจหนีน้ำไปถ่ายทำระนาดลิเกโคราช เพราะที่นั่นน้ำไม่ท่วมและถือเป็นชุมชนลิเกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย มีเรื่องราวขออดีตพระเอกลิเกพ่อเต็ก เสือสง่า, ครูบุญยัง เกตุคง ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินลิเกอีกเกือบกว่า 100 คณะ*** แต่ด้วยเงื่อนไขบางประการ เหมือนบุพเพสันนิวาสที่ผมต้องมาเป็นผู้ดำเนินรายการตอนนี้ แล้วต้องกลับมาตั้งหลักถ่ายทำแถบท้องถิ่นภาคกลาง ผมจึงนั่งทบทวนโจทย์ใหม่ เล็งว่าน่าจะเป็นอยุธยากับอ่างทอง ที่ว่าเป็นอยุธยาก็เพราะนึกถึง พ่อครูหอมหวล นาคศิริ(พ.ศ2442.-พ.ศ.2521) อ.บ้านแพรก กับพระพร ภิรมย์หรือ บุญสม อยุธยา(พ.ศ.2471-พ.ศ.2553) อ.พระนครศรีอยุธยา ที่ถือว่าเป็นตำนานลิเก เมื่อสืบถามหาคนระนาดในยุคนั้น ก็มีลุงลือ เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนระนาดลิเกคู่ใจพระพร ภิรม

คมสันต์ สุทนต์ พาไปคุยกับ ก๊กเฮง จำอวดรุ่นบุกเบิก ในบางบรรเลงเพลงระนาด 5 ทุ่ม 20 กุมภาพันธ์นี้

รูปภาพ
คมสันต์พาไปคุยกับ ก๊กเฮง จำอวดรุ่นบุกเบิก ในบางบรรเลงเพลงระนาด 20 กุมภาพันธ์นี้ คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการ พาคุณผู้ชมไปพูดคุยเคล้าเสียงฮากับจำอวดอาวุโสยุคบุกเบิกวัย 90 ปี ก๊กเฮง- ครูเฉลิมศักดิ์ พุกกะณะสุต เพื่อรู้ที่มาของคำว่า “ระนาดจำอวด” และไปเที่ยวบ้านจำอวดใจดีเมืองเพชรบุรี ลุงเล็ก-ครูชนะ ชำนิราชกิจ ศิลปินครบเครื่องเรื่องร้องรำทำเพลง ปิดท้ายด้วย “ระนาดตลก คาเฟ่” ข้ามยุค พี่ปู ดอกกระโดน-ครูบุญสร้าง เรืองนนท์ ในรายการบางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดจำอวด วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 23.00 น.(ห้าทุ่ม) ทาง ไทยพีบีเอส คมสันต์ สุทนต์ เล่าให้ฟังถึงบางบรรเลงฯ และความหมายของคำว่า ระนาดจำอวด ตอนนี้ว่า “ระนาดจำอวด ตอนนี้เป็นตอนประวัติศาสตร์ที่ไม่อยากให้คนไทยพลาดชม ความรื่นรมย์ร่ำรวยอารมณ์ขันของสามศิลปินจำอวด-ตลกชั้นครู ที่จะมาเล่าเรื่องราวเคล้าเสียงฮา เรียกรอยยิ้มได้เกือบ 1 ชั่วโมงเต็ม.. จำอวด ผมว่าน่าจะมาจากคำว่า “จำมาอวด” (คมสันต์ สุทนต์) มีที่มาจากสวดคฤหัสถ์ในงานศพ อาจจะเป็นเครือญาติกับตลกลิเก, ตลกหลวง, ตลกโขน, ตลกเสภา, เบญจพรรณ.. ระนาดจำอวด น่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจาก จำอวดคณะ